การเป่าขึ้นส้อยแคน

การเป่าขึ้นส้อยแคน(ลายใหญ่ ลายน้อย)




                  การเป่าขึ้นส้อยแคน  การเป่าขึ้นส้อยแคน หมายถึงการเป่าเกริ่นนำก่อนที่จะเป่าจริง หรือ เป็นการเกริ่นนำก่อนจะเข้าสู่ลายแคน ถ้าเปรียบเทียบกับดนตรีบรรเลงในปัจจุบันก็คือ Introduction นั่นเอง จะแตกต่างกันที่การเป่าขึ้นส้อยแคนจะต้องเป่าให้จบในเวลาอันรวดเร็ว เป็นการนำเอาเนื้อหาของลายแคนมาแนะนำบางส่วน ซึ่งผู้เป่าอาจมีจุดประสงค์หลายอย่าง เช่นเป่าเพื่อทดสอบความพร้อมของตนเองและตรวจสอบสภาพของแคนว่าอยู่ในสภาวะที่พร้อมจะใช้งานได้ดีหรือไม่ ยิ่งถ้ามีผู้ฟังหรือคู่แข่งก็จะเป็นการอวดความสามารถให้ผู้อื่นรู้ก่อนที่จะเป่าจริง  นอกจากนี้การเป่าขึ้นส้อยแคนยังทำให้ผู้ฟังสามารถประเมินได้ว่าผู้เป่ามีความสามารถอยู่ในระดับใด  การเป่าขึ้นส้อยแคนมีความสำคัญมาก มีคำกล่าวว่า “หากการเป่าในขั้นตอนนี้ผ่านไปได้ด้วยดีก็เท่ากับประสบความสำเร็จไปแล้วครึ่งหนึ่ง ”ฉะนั้น  ในการเป่าขึ้นส้อยหมอแคนจึงต้องระมัดระวังและบรรจงเป็นพิเศษเพื่อให้เสียงแคนเป็นที่ดึงดูดความสนใจของผู้ฟังหรือเป็นการข่มขู่คู่แข่งขันอีกทางหนึ่งด้วย ในการเป่าขึ้นส้อยแคนมีขั้นตอนหนึ่งซึ่งสำคัญมากที่ผู้เป่าแคนจำเป็นต้องรู้จักและเข้าใจคือ “การจาดแคน
                    การจาดแคน  คำว่า “จาด เป็นภาษาพื้นเมืองอีสาน หมายถึงทำให้ตกใจ การจาดแคน คือการเป่าที่ไม่มีการไล่เสียงหรือเล่นทำนอง  เป็นเพียงการเป่าเพื่อตรวจสอบกลุ่มเสียงของแต่ละลายที่จะเป่า  เป็นการเป่าให้เกิดเสียงขึ้นครั้งแรกพร้อมกันเป็นกลุ่มเสียง  เสียงที่ดังขึ้นจากการจาดแคน จะทำให้ ผู้ฟังหันมาสนใจและรับรู้ว่าการเป่าแคนจะเริ่มขึ้น  นอกจากนี้การจาดแคนยังทำให้ผู้ฟังสามารถรู้ได้ว่า    ผู้เป่าจะเป่าแคนในลายทางสั้นหรือลายทางยาว การจาดแคนบางทีก็จะเรียกว่า “การจ้าดแคน”    หรือ จ้านแคน”  อีกด้วย  ในลำดับต่อไปจะกล่าวถึงรายละเอียดการจาดแคนลายทางยาว ซึ่งได้แก่   การจาดลายใหญ่และการจาดลายน้อย  โดยปฏิบัติดังนี้
                    การจาดลายใหญ่ ปกติการป่าแคนลายใหญ่จะติดสูดเสียง มีกลาง และ เสียง ลาสูง คือติด ที่รูนับของแคนลูกที่ 7 และ ลุกที่ 8 แพขวา เพื่อทำเป็นเสียงประสานยืน(Drone) และฝึกเป่าตามลำดับดังนี้
                     คำว่า จาด หรือ จ้าด เป็นการเกริ่นทำนองแบบหนึ่งที่ใช้บรรเลงก่อนนำเข้าสู่ลายแคน ซึ่งมีทำนองคล้ายกับสำเนียงภาษาพูดว่า “ จ้าน ……….จ้านจ้าน……………” ซึ่งจะทำให้ลายแคนมีความไพเราะอ่อนหวาน โดยติดสูดที่ระดับเสียง มํ ลํ (แพขวา) แล้วปฏิบัติตามลำดับ ดังนี้                
             ขั้นที่ 1  ใช้นิ้วปิดรูนับเสียง ม ร ดํ (แพซ้าย) และเสียง ลฺ ด ล รํ (แพขวา) ทำริมฝีปากห่อเข้าและผันลิ้นคล้ายกับจะเปล่งสำเนียงว่า จ้าน ล้วเป่าลมเข้านานประมาณ 1 วินาที (ดูแผนภูมิที่ 1) 
 จ้านลายใหญ่ ขั้นที่1(ใหม่)
             ขั้นที่ 2 (ต่อจากขั้นที่ 1)ให้ปล่อยนิ้วออกเพื่อเปิดรูนับเสียง ร ดํ ที่แพซ้าย และเสียง ด รํ ที่       แพขวา ให้เหลือไว้เฉพาะเสียง    แพซ้าย และเสียง  ลฺ ล  แพขวา แล้วปล่อยให้ลมเป่ายืดออกไป           2-3 วินาที (ดูแผนภูมิขั้นที่ 2)
จ้านลายใหญ่ ขั้นที่ 2(ใหม่)
             ถ้าต้องการคำว่า “ จ้าน ………………” เพียงครั้งเดียว หรือ  ช่วงลมเดียวก็เป่าให้เสียงแคนยืดออกไปอีกได้ตามต้องการ  แต่ถ้าต้องการคำว่า จ้าน ต่อกันหลายครั้ง เช่น จ้าน จ้าน…………. ให้ปฏิบัติ ในขั้นที่ 3 ต่อไป
           ขั้นที่ 3 (ต่อจากขั้นที่2) ปิดรูนับเสียง ม ร ดํ (แพซ้าย) และเสียง ลฺ ด ล รํ (แพขวา) พร้อมกันอีกครั้ง (เช่นเดียวกับขั้นที่ 1) 
จ้านลายใหญ่ขั้นที่3แผนภูมิ1                  ขั้นที่ 4 (ต่อจากขั้นที่3) แล้วรีบปล่อยนิ้วออกให้เหลือเฉพาะเสียง ม และ ลฺ ล เช่นเดียวกับ  ขั้นที่ 2 (แผนภูมิที่ 2) และเป่าลมเข้าให้เสียงแคนยืดออกไปอีกตามต้องการ ในขั้นนี้จะมีทำนองคล้ายกับคำว่า “จ้านจ้าน……………….
จ้านลายใหญ่ขั้นที่4แผนภูมิ2
        ข้อควรสังเกต
              1. การเป่าคำว่า“จ้าน”ให้ใช้ลมช่วงเดียวตลอดตั้งแต่ต้นจนจบ จะใช้ลมเป่าเข้าหรือดูดออกก็ได้ตามความถนัด โดยแบ่งลมออกเป็น 3ช่วง เราจะได้ยินเสียงดังคล้ายกับคำว่า “จ้าน……………..…..จ้านจ้าน………………”                   
               2. ระดับเสียงที่ต้องปิดรูนับตลอดการบรรเลงคือระดับเสียง ลฺ ล, ม มํ, ลํ  เป็นการ จ้านทำนองลายใหญ่
                  การจาดลายน้อย การป่าแคนลายน้อยจะติดสูดเสีย เรสูง (รํ) และ เสียง ลาสูง(ลํ) คือ ติดที่รูนับของแคนลูกที่ 6 และ ลุกที่ 8 แพขวา เพื่อทำเป็นเสียงประสานยืน(Drone) แล้วฝึกเป่าตาม ลำดับดังนี้
         ขั้นที่ 1 ใช้นิ้วปิดรูนับเสียง ฟํ ฟ ร ดํ (แพซ้าย) และ เสียง ซ ล  (แพขวา) ทำริมฝีปากห่อเข้าและผันลิ้นคล้ายกับจะเปล่งสำเนียงว่า  จ้าน….  แล้วเป่าลมเข้าประมาณ 1 วินาที  (ดูแผนภูมิที่ 1) 
จ้านลายน้อย ขั้นที่ 1
        ขั้นที่ 2 (ทำต่อจากขั้นที่1) ให้ปล่อยนิ้วเพื่อเปิดรูนับเสียง ฟํ ฟ  ด  ที่แพซ้ายออก ให้เหลือไว้เฉพาะเสียง  แพขวาให้เหลือเสียง ล รํ (รวมทั้ง รํ ลํ ที่ติดสูด) แล้วเป่าลมให้ยืดนานออกไปอีกประมาณ 2-3 วินาที (ดูแผนภูมิขั้นที่ 2)
จ้านลายน้อย ขั้นที่ 2
                     ถ้าต้องการคำว่า “ จ้าน …………………….” เพียงครั้งเดียว หรือ  ช่วงลมเดียวก็เป่าให้เสียงแคนยืดออกไปอีกได้ตามต้องการ  แต่ถ้าต้องการคำว่า จ้าน ต่อกันหลายครั้งให้ปฏิบัติในขั้นที่ 3 ต่อไป 
          ขั้นที่ 3(ทำต่อจากขั้นที่2) ปิดรูนับเสียง ฟํ ฟ ร ดํ (แพซ้าย) และเสียง รํ (แพขวา) พร้อมกันอีกครั้ง (เช่นเดียวกับขั้นที่ 1)แล้วเป่าลมเข้า 
จ้านลายน้อย ขั้นที่ 3
           ขั้นที่ 4 หลังจากเป่าลมเข้าแล้วให้รีบปล่อยนิ้วให้เหลือเฉพาะเสียง ร และ รํ เช่นเดียวกับขั้นที่ 2 (แผนภูมิที่ 2) และเป่าลมเข้า ให้เสียงแคนยืดนานออกไปอีกตามต้องการ ในขั้นนี้เมื่อฟังเสียงแล้วจะมีทำนองคล้ายกับคำว่า จ้านจ้าน……………….
จ้านลายน้อย ขั้นที่ 4
       ข้อควรสังเกต 
           1. การเป่าคำว่า“จ้าน” ให้ใช้ลมช่วงเดียวตลอดตั้งแต่ต้นจนจบ จะใช้ลมเป่าเข้าหรือดูดออก
ก็ได้ตามความถนัด โดยแบ่งลมออกเป็น 3 ช่วง จะได้เสียงแคนที่มีเสียงดังคล้ายกับคำว่า
“ จ้าน………..จ้านจ้าน………………” (เช่นเดียวกับลายใหญ่)

           2. ระดับเสียงที่ต้องปิดรูนับตลอดการบรรเลงคือระดับเสียง ร รํ, ลํ  เป็นการเป่าคำว่า จ้านทำนองลายน้อย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น