วันจันทร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ลายลมพัดไผ่(ลายใหญ่)

การเป่าแคน ลายลมพัดไผ่


             การเป่าแคน ลายลมพัดไผ่  เป็นลายแคนที่เกิดจากการบรรยายภาพพจน์อีกแบบหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงศิลปะหรือสภาพความงามทางธรรมชาติอีกด้นหนึ่ง ที่มีความเกี่ยวข้องกับสภาพวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ และความผูกพันของคนกับสิ่งแวดล้อมในช่วงกาลเวลานั้นๆ อีกทั้งยังเป็น การบรรยายให้เห็นถึงศิลปะและความงามที่มีอยู่ในธรรมชาติแล้วนำมาถ่ายทอดในลักษณะการแสดงที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของกลุ่มชนนั้นๆ ดังจะเห็นได้จากศิลปะการแสดงของกลุ่มชนในแถบฝั่งขวาของแม่น้ำโขง เช่น จังหวัดนครพนม จะนำเอาลายแคนที่ชื่อว่า "ลายลมพัดไผ่" นำไปประกอบการแสดงที่ชื่อว่า "รำศรีโคตรบูรณ์" ลายแคนนี้จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "ลายศรีโคตรบูรณ์" ซึ่งการบรรเลงลายทำนองของแคนอาจจะแตกต่างกันไปตามจินตนาการและการใช้ลูกเล่นหรือกลเม็ดเด็ดพลายของหมอแคนแค่ละคนที่พยายามจะสร้างสรรค์เสียงแคนให้เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตน แต่สิ่งที่ยังคงไว้ก็คือแนวทำนองของแคนที่เป็นลายทางยาว และกลุ่มเสียงที่เป็นทำนองของคำว่า "ลายใหญ่" คือใช้เสียง ลา(ลูกที่ 8 แพขวา) และเสียง มีสูง(ลูกที่ 7 แพขวา) เป็นเสียงประสานยืน(เสียงDrone)ตลอดแนวทำนองการบรรเลง ดังตัวอย่างการฝึกเป่าลายลมพัดไผ่ ดังนี้


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น