วันจันทร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ลายลำเพลินแก้วหน้าม้า(ลายใหญ่)

 การเป่าแคน ลายลำเพลินแก้วหน้าม้า(ลายใหญ่)

                 
       การเป่าแคนลายลำเพลิน  เป็นการแคนลายลำเพลิน เป็นการเป่าแคนประกอบการละเล่นพื้นเมืองของกลุ่มชนที่อาศัยอยู่ในแถบอีสานตอนกลางทางฝั่งขวาแม่น้ำโขง และอีสานตอนบนบางส่วน ซึ่งแพร่กระจายลึกเข้าไปทางตะวันตกถึงแถบจังหวัดชัยภูมิและเพชรบูรณ์ การแสดงที่เรียกชื่อว่าหมอลำประเภทลำเพลินกำลังเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในช่วงประมาณ ปี พ.ศ. 25105 ถึง พ.ศ. 2525 หลังจากนั้นไม่นานก็เริ่มได้รับความสนใจนอ้ยลงเรื่อยๆ เนื่องจากวัฒนธรรมดนตรีตะวันตกได้หลั่งไหลเข้ามา ทำให้เด็กๆ และเยาวชนส่วนใหญ่หันไปนิยมในวัฒนธรรมดนตรีและการแสดงของชาวตะวันตกกันมาก จนกระทั่งปัจจุบันจะเห็นได้ว่าเด็กๆและเยาวชนที่สนใจในดนตรีและการแสดงที่เป็นเอกลักษณ์ของคนอีสานนั้นมีน้อย จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่คนอีสานจะต้องร่วมมือกันหาทางอนุรักษ์วัฒนธรรมที่ดีงามของตนไว้ 
โดยเฉพาะเสียงลำเสียงแคนที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมดนตรีของคนอีสาน การเป่าแคนลายลำเพลิน
ก็เช่นเดียวกัน ถึงแม้จะหาชมการแสดงได้ยากแต่ก็สามารถนำแคนมาบรรเลงเป็นทำนองที่เรียกชื่อว่า “ลายลำเพลิน” ได้ ซึ่งในช่วงเวลานั้นมีการพัฒนาแนวทำนองเป็นหลายทำนอง เช่น ลำเพลินแก้วหน้าม้า
ลำเพลินมะโนราห์ ลำเพลินประยุกต์  ตามควานิยมของแต่ละท้องถิ่นดังนี้เป็นต้น ในเรื่องนี้จะนำเสนอการฝึกเป่าลายลำเพลิน(เป่าแบบลายใหญ่ ทางยาว) ดังนี้ 
(โน้ตทำนองอยู่ระหว่าปรับปรุง)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น