วันพุธที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

การเป่าแคนลายส้อย

การเป่าแคนลายส้อย

           ลายส้อย คำว่า "ส้อย"เป็นสำเนียงภาษาพูดของคนอีสานเหมือนเสียงพูดคำว่า "ส่อย" ซึ่งหมายถึงการทำให้เล็กลงด้วยการฉีกหรือผ่าออกให้เป็นซีกเล็กๆยาวๆ (ดังที่ได้อธิบายไว้แล้วในเรื่องลายแคนพื้นบ้านอีสาน) ลายส้อย จึงเป็นลายแคนที่มีเสียงเล็กแหลม  มีระดัยเสียงสูงกว่าลายสุดสะแนนและลายโป้ซ้าย  จะใช้เป่าประกอบการลำทางสั้น(ลำกลอน) เป็นลายที่ฉีกแนวทำนองมาจากลายสุดสะแนนและลายโป้ซ้าย  ซึ่งมีการเดินทำนองเหมือนกันกับลายทั้งสอง แต่ช่วงระดับเสียงไม่ครบ 2 ช่วงทบ(จากเสียงซอลต่ำ ซอลกลาง ถึงซอลสูง) จึงถือว่าเป็นลายย่อยของลายทั้งสอง ลายส้อย มีทำนองการเป่าหลายแบบ  ซึ่งหมอแคนแต่ละท้องถิ่นอาจมีทำนองแตกต่างกันออกไปบ้าง แต่สิ่งที่ยังคงไว้เหมือนกันก็คือแนวทำนองและการติดสูดที่เสียงเสพประสานหลัก(เสียง Drone) คือ จะติดสูดเสียง เร  ลูกที่ 6 แพขวา กับเสียง ลา ลูกที่ 8 แพขวา

แผนภูมิการติดสูดลายส้อย

ติดสูดลายส้อย
ตัวอย่างทำนองของลายส้อย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น