วันพุธที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ลายสุดสะแนน

การฝึกเป่าแคน ลายสุดสะแนน

             ลายสุดสะแนน คำว่า “สะแนน”  คงเพี้ยนมาจากคำว่า “สายแนน”เป็นภาษาพูดพื้นเมืองของคนอีสาน ซึ่งหมายถึงการมีเยื่อใยหรือความผูกพันที่มีต่อกันมาแล้วในอดีตชาติเป็นลายทางสั้น และถือว่าเป็นลายแคนแม่บทหรือลายครู เป็นลายแคนที่มีความไพเราะเป็นพิเศษ  มีจังหวะกระชับ มีลีลาและท่วงทำนองตื่นต้นเร้าใจตลอดเวลา  และก่อนที่จะก้าวไปสู่การเป่าลายอื่นๆบรรดาหมอแคนที่มีฝีมือ     ทั้งหลายในอดีตจะต้องฝึกเป่าลายสุดสะแนนให้ได้ก่อนเป็นอันดับแรก  ดังนั้นคำว่า“สุดสะแนน”ในเรื่องของลายแคนนี้ น่าจะหมายถึงความไพเราะที่คนในอดีตได้ฟังแล้วมักจะคิดถึงบ้านเกิดเมืองนอนของตน คิดถึงบิดามารดา ญาติพี่น้อง เพื่อนฝูง และประเพณีวัฒนธรรมดั้งเดิมของตน จนเกิดความรู้สึกที่เรียกว่า “ออนซอน”ขึ้นมาอย่างที่สุด  นั่นคือทำให้เขาหวนคิดกลับไปนึกถึงคำว่า “สายแนน” นั่นเอง ดังลายแคนที่ชื่อ “ลายสุดสะแนน” ที่จะนำเสนอสู่การฝึกดังต่อไปนี้
            การติดสูดลายสุดสะแนน  การติดสูด หมายถึงการทำให้เสียงเสิร์ฟประสานหลักของแต่ละลายดังอยู่ตลอดเวลาไม่ขาดหายในช่วงขณะที่เป่าทำให้เสียงแคนไพเราะกลมกลืนกันสำหรับลายสุดสะแนนจะติดสูดที่ลูกที่ 6 และลูกที่ 8 แพซ้าย โดยมีหลักเกณฑ์ว่าเสียงซอล(ลูกที่ 6 แพซ้าย) ซึ่งเป็นเสียงทุ้มต่ำสุดของทำนองและเป็นเสียงหลัก  ส่วนลูกที่ 8 แพซ้าย ซึ่งเป็นเสียงซอลสูงจะใช้เป็นเสียงติดสูดร่วมเพื่อให้เสียงประสานยืนมีความกลมกลืนกัน ดังแผนภูมิ
 แผนภูมิการติดสูด ลายสุดสะแนน
ปิดสูดลายสุดสะแนน

ตำแหน่งการติดสูด ลายสุดสะแนน
ติดสูดสุดสะแนน3

ตัวอย่างโน้ตแคน ลายสุดสะแนน

ลายสุดสะแนน
สุดสะแนนแผ่น2

ตัวอย่างการเป่าแคน ลายสุดสะแนน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น