วันอังคารที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ลายนกไซบินข้ามทุ่ง(ลายน้อย)

การเป่าแคน ลายนกไซบินข้ามทุ่ง (ลายน้อย)
       ลายนกไซบินข้ามทุ่ง(ลายน้อย) เป็นการบรรเลงเพื่อบรรยายหรือให้เกิดจินตนาการเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ ที่เกี่ยวข้องหรือผูกพันกับการทำมาหากินของผู้คนในสังคมเกษตรกรรม ในยุคสมัยนั้น โดยเฉพาะการทำไร่ทำนาที่ต้องพึ่งพาความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติ ซึ่งบางปีก็แห้งแล้ง น้ำในแหล่งน้ำตามธรรมชาติก็เหือดแห้ง ทำให้สัตว์หลายชนิดต้องอพยพถิ่นฐานไปที่อื่น จึงทำให้ศิลปิน  พื้นบ้านผู้มีอารมณ์ศิลป์ทั้งหลายได้นำเอากิริยาอาการของสัตว์ต่างๆเหล่านั้นมาเรียบเรียงแล้วถ่ายทอดออกมาเป็นทำนองของเสียงดนตรีที่พวกเขามีอยู่ จึงทำให้เกิดลายทำนองของดนตรีต่างๆ ขึ้น ลายแคนที่ชื่อว่า “ลายนกไซบินข้ามทุ่ง“ก็มีความเป็นมาดังนี้เช่นกัน คือ ผู้ประพันธ์ต้องการที่จะถ่ายทอดจินตนาถึงอากับปกิริยาของนกไซหรือนกใส่(ตามสำเนียงของคนอีสานหมายถึงนกหัวขวานที่กำลังกระพือปีกบินข้ามทุ่งนา) ผู้ประพัยธ์ทำนองนี้ คือ เปลื้อง ฉายรัศมี ซึ่งเป็นศิลปินแห่งชาติ การติดสูด ก็เหมือนลายน้อยทำนองอื่นๆ คือปิดที่เสียง เรสูง และเสียง ลาสูง (ลูกที่ 6 และ  8 แพขวา) ดังตัวอย่าง
โน้ตทำนอง ลายนกไซบินข้ามทุ่ง (ลายน้อย)
โน้ตลายนกไชบินข้ามทุ่ง(ลายน้อย)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น