วันอังคารที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2556

การวางนิ้วบนตำแหน่งของลูกแคน

การวางนิ้วบนตำแหน่งเสียงของแคน

     การวางนิ้วมือปิดรูนับบนลูกแคน มีความสำคัญต่อการฝึกเป่าแคนเป็นอย่างยิ่ง เพราะการวางนิ้วที่ถูกต้องจะทำให้เกิดความสะดวกและคล่องแคล่วในการเป่าแคน เป่าตามจังหวะได้เร็วไม่สะดุดหรือข้ามเสียง ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญที่ผู้เริ่มต้นฝึกใหม่จะต้องปฏิบัติให้ถูกต้องและเป็นนิสัยที่เคยชินเพื่อให้เป่าแคนได้ไพเราะ ดังนี้




วันเสาร์ที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2556

การฝึกเป่าแคนลายลำตังหวาย


การฝึกเป่าแคนขั้นสูง ตอนที่ 12 การฝึกเป่าแคนลายลำตังหวาย

       คำแนะนำวิธีฝึกการใช้ลม
1. การใช้ลม ให้ทำริมฝีปากห่อเข้าและให้จรดกับรูปากเป่าที่เต้าแคนให้แน่น   ขณะเป่าลมเข้าหรือดูดลมออกให้ผันลิ้นคล้ายกับจะเปล่งคำว่า แลนแดน ให้เป็นเสียงสั้นที่สุด โดยเน้นการใช้ลมให้หนักที่โน้ตตัวสุดท้ายของห้อง  และสำเนียงของคำว่า แลน และ แดน จะมีระดับเสียงสูง กลาง ต่ำ  เปลี่ยนไป ตามระดับเสียงของตัวโน้ต
            2. ขณะเป่าลมเข้าหรือดูดลมออกให้กระดกปลายลิ้นขึ้นปิดเพดานเพื่อกันลมไว้แล้วปล่อยออกมาเป็นจังหวะตามจำนวนตัวโน้ตที่มีในแต่ละห้องเพลง เช่น  ถ้ามีตัวโน้ต 1 ตัว ก็จะเป่าเข้าหรือดูดออกเพียง 1 ครั้ง หรือถ้ามีตัวโน้ต 4 ตัว ก็จะเป่าเข้าหรือดูดออก สี่ครั้ง ดังนี้เป็นต้น

3. วิธีใช้ลมตามตัวอย่างนี้เรียกว่า  การเป่าตัด หรือ เป่าตัดลม

คำอธิบายแบบฝึก

1.  ให้ฝึกเป่าลมเข้าและดูดลมออกตามคำแนะนำในเบื้องต้น

       2.  ขณะเป่าลมเข้าหรือดูดลมออกให้ผันลิ้นคล้ายกับจะเปล่งคำว่า แลน และ แดน สลับกันให้เป็นเสียงสั้นที่สุด 

การฝึกเป่าแคนทำนองลำเพลิน (ลายน้อย)


เรื่องการฝึกเป่าแคนทำนองลำเพลิน (ลายน้อย)
            คำแนะนำวิธีฝึกการใช้ลม
1. การใช้ลม ให้ทำริมฝีปากห่อเข้าและให้จรดกับรูปากเป่าที่เต้าแคนให้แน่น   ขณะเป่าลมเข้าหรือดูดลมออกให้ผันลิ้นคล้ายกับจะเปล่งเสียงคำว่า แดน หรือ ดัง หรือออกเสียงคล้ายกับตัวอักษร (เลือกอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างก็ได้ตามถนัด)  โดยออกเสียงคำว่า แดน หรือ ดัง ให้เป็นเสียงสั้นที่สุด และเน้นการใช้ลมให้หนักที่โน้ตตัวสุดท้ายของห้อง สำเนียงของคำว่า แดน หรือ ดัง หรือ จะมีระดับเสียงสูง- กลาง-ต่ำ  เปลี่ยนไปตามระดับเสียงของตัวโน้ต
            2. ขณะเป่าลมเข้าหรือดูดลมออกให้กระดกปลายลิ้นขึ้นปิดเพดานเพื่อกันลมไว้แล้วปล่อยออกมาเป็นจังหวะตามจำนวนตัวโน้ตที่มีในแต่ละห้องเพลง เช่น  ถ้ามีตัวโน้ต 1 ตัว ก็จะเป่าเข้าหรือดูดออกเพียง 1 ครั้ง หรือถ้ามีตัวโน้ต 4 ตัว ก็จะเป่าเข้าหรือดูดออก สี่ครั้ง ดังนี้เป็นต้น

3. วิธีใช้ลมตามตัวอย่างนี้เรียกว่า  การเป่าตัด หรือ เป่าตัดลม

           

การฝึกเป่าแคนลายลมพัดพร้าว



การฝึกเป่าแคนลายลมพัดพร้าว



คำแนะนำวิธีฝึกการใช้ลม
1. การใช้ลม ให้ทำริมฝีปากห่อเข้าและให้จรดกับรูปากเป่าที่เต้าแคนให้แน่น   ขณะเป่าลมเข้าหรือดูดลมออกให้ผันลิ้นคล้ายกับจะเปล่งคำว่า แลนแดน ให้เป็นเสียงสั้นที่สุด โดยเน้นการใช้ลมให้หนักที่โน้ตตัวสุดท้ายของห้อง  และสำเนียงของคำว่า แลน และ แดน จะมีระดับเสียงสูง กลาง ต่ำ  เปลี่ยนไป ตามระดับเสียงของตัวโน้ต
            2. ขณะเป่าลมเข้าหรือดูดลมออกให้กระดกปลายลิ้นขึ้นปิดเพดานเพื่อกันลมไว้แล้วปล่อยออกมาเป็นจังหวะตามจำนวนตัวโน้ตที่มีในแต่ละห้องเพลง เช่น  ถ้ามีตัวโน้ต 1 ตัว ก็จะเป่าเข้าหรือดูดออกเพียง 1 ครั้ง หรือถ้ามีตัวโน้ต 4 ตัว ก็จะเป่าเข้าหรือดูดออก สี่ครั้ง ดังนี้เป็นต้น

3. วิธีใช้ลมตามตัวอย่างนี้เรียกว่า  การเป่าตัด หรือ เป่าตัดลม

คำอธิบายแบบฝึก

1.  ให้ฝึกเป่าลมเข้าและดูดลมออกตามคำแนะนำในเบื้องต้น

       2.   ขณะเป่าลมเข้าหรือดูดลมออกให้ผันลิ้นคล้ายกับจะเปล่งคำว่า แลน และ แดน สลับกันให้เป็นเสียงสั้นที่สุด(โดยเปล่งเสียงคำว่า แลน ก่อนแล้วจึงเปล่งเสียงคำว่า แดน)

การฝึกเป่าแคนลายแม่ฮ้างกล่อมลูก(ลายใหญ่)

 การเป่าแคนลายแม่ฮ้างกล่อมลูก





            คำแนะนำวิธีฝึกการใช้ลม

            1. ให้เป่าลมเข้าหรือดูดลมออกตามจำนวนตัวโน้ตที่มีในแต่ละห้องเพลง เช่น     ถ้ามีตัวโน้ต 1 ตัว ก็จะเป่าลมเข้าหรือดูดลมออกเพียง 1 ครั้ง หรือถ้ามีตัวโน้ต 2 ตัวก็จะเป่าลมเข้าหรือดูดลมออกสองครั้ง ดังนี้เป็นต้น

            2. การใช้ลม ให้ทำริมฝีปากห่อเข้าและให้จรดกับรูปากเป่าที่เต้าแคนให้แน่น   ขณะเป่าลมเข้าหรือดูดลมออกให้ผันลิ้นคล้ายกับจะเปล่งคำว่า แลน, แจน โดยออกเสียงคำว่า แลน และ แจน ให้เป็นเสียงสั้นที่สุด และเน้นการใช้ลมให้หนักที่โน้ตตัวสุดท้ายของห้อง(จังหวะตก)

การฝึกเป่าแคนลายภู่ตอมดอก(ลายใหญ่)


การเป่าแคน ลายภู่ตอมดอก(ลายใหญ่)

ััั

             ลายภู่ตอมดอก ลายภู่ตอมดอกดั้งเดิมจริงๆแล้วเป็นลายทางสั้นที่เลียนแบบเสียงของสัตว์ในธรรมชาติ คือ แมลงภู่ ซึ่งคนอีสานจะเรียกว่า "แมงภู่" ตัวสีน้ำเงินแก่มองดูจนขียว เวลาบินตอมดอกไม้จะมีเสียงดังหึ่งๆ วนเวียนอยู่รอบๆดอกไม้แล้วค่อยๆบินวนเข้าวงในดอกไม้จนในที่สุดก็โฉบเอาเกสรดอกไม้ออกไป ลักษณะเสียงของแมลงภู่จะมีทำนองลีลาช้าๆ ก่อนแล้วจะเร็วกระชั้นเข้าในที่สุด หมอแคนผู้มีอารมณ์ศิลปินได้ดัดแปลงกิริยาอาการทางธรรมชาติของแมลงภู่นี้ออกมาเป็นทำนองของเสียงดนตรี โดยมุ่งเลียนแบบเสียงของหมู่แมงภู่ที่กำลังบินหึ่งๆ อยู่นอกก่อนช้าๆ แล้วค่อยกระชับเข้ามาตามลำดับ จนในที่สุดถึงจุดที่แมงภู่ขย้ำดอกไม้อย่าเมามัน เมื่อฟังลีลาของเสียงแคนจะได้ยินเป็นเสียงเล็กเสียงน้อย มีการเล่นเสียงเป็นกรณีพิเศษให้เหมือนกับเสียงแมลงภู่ที่กำลังตอมดอกไม้จริงๆ ความละเอียดบรรจงของเสียงแคนจะเหมือนคุณลักษณะของหมู่ภมรทั้งหลายที่พยายามดูดหรือนำเอาน้ำหวานจากเกสรไปโดยไม่ให้เกิดการชอกช้ำ ความสามารถของหมอแคนในช่วงนี้จึงเปรียบเหมือนความประณีตและสมบูรณ์ด้วยศิลปะในชั้นเชิงการเคล้าเกสรของหมู่ภมรที่ฉลาดนั่นเองในระยะหลังต่อมาได้มีผู้นำเอาลีลาอาการของหมู่ภมรนี้ไปดัดแปลงเป็นทำนองแคนขึ้นใหม่ โดยบรรเลงเป็นแนวทำนองแบบลายทางยาวที่มีเนื้อหาคล้ายทำนองเดิม สามารถนำไปบรรเลงได้ทั้งในทำนองลายใหญ่และลายน้อย สำหรับในเนื้อหานี้จะเสนอการเป่าในแนวของลายใหญ่ทางยาว ดังนี้
โน้ตทำนอง ลายภู่ตอมดอก (ลายใหญ่)
โน้ตลายภู่ตอมดอก(ลายใหญ่)
คำแนะนำวิธีฝึกการใช้ลม
    1. การใช้ลม ให้ทำริมฝีปากห่อเข้าและให้จรดกับรูปากเป่าที่เต้าแคนให้แน่น   ขณะเป่าลมเข้าหรือดูดลมออกให้ผันลิ้นคล้ายกับจะเปล่งคำว่า แลนแดน ให้เป็นเสียงสั้นที่สุด โดยเน้นการใช้ลมให้หนักที่โน้ตตัวสุดท้ายของห้อง  และสำเนียงของคำว่า แลน และ แดน จะมีระดับเสียงสูง กลาง ต่ำ เปลี่ยนไปตามระดับเสียงของตัวโน้ต
       2. ขณะเป่าลมเข้าหรือดูดลมออก ให้กระดกปลายลิ้นขึ้นปิดเพดานเพื่อกันลมไว้แล้วปล่อยออกมาเป็นจังหวะตามจำนวนตัวโน้ตที่มีในแต่ละห้องเพลง เช่น  ถ้ามีตัวโน้ต 1 ตัว ก็จะเป่าเข้าหรือดูดออกเพียง 1 ครั้ง หรือถ้ามีตัวโน้ต 4 ตัว ก็จะเป่าเข้าหรือดูดออก สี่ครั้ง ดังนี้เป็นต้น

3. วิธีใช้ลม ตามตัวอย่างนี้เรียกว่า การเป่าตัด หรือ เป่าตัดลม 

คำอธิบายแบบฝึก

1.  ให้ฝึกเป่าลมเข้าและดูดลมออกตามคำแนะนำในเบื้องต้น
2.  ขณะเป่าลมเข้าหรือดูดลมออกให้ผันลิ้นคล้ายกับจะเปล่งคำว่า แลน และ แดน สลับกันให้เป็นเสียงสั้นที่สุด

แบบฝึกที่ 1

     เป่าเกริ่นทำนอง   ด.......………….…………

 -   - ลฺ
ลฺ ลฺ -
-ม ซ  ม
ร มซ ม
- ลฺ  -  -
ลฺ ลฺ -
- ร  ด ร
ม ร ด ร

แบบฝึกที่ 2

 - ลฺ  -
ลฺ ลฺ -
-ม ซ  ม
ร มซ ม
- ลฺ - ทฺ
ลฺ ลฺ -
- ร  ด ร
ม ร ด ร

แบบฝึกที่ 3

- ล ซ ม
ซร ม ด
- ด ร ซ
ร มซ ม
- ล ซ ม
ซร ม ด
- ด ร ซ
ร มซ ม

แบบฝึกที่ 4

- ลฺ -
ลฺ ด ลฺ ด
- ด ร ซ
ร มซ ม
- ลฺ -
ลฺ ด ลฺ ด
- ด ร ซ
ร มซ ม

แบบฝึกที่ 5

- ล ซ ม
ซ ลซ ล
- ล ดํ รํ
ดํ ลซ ล
- ล ซ ม
ซ ลซ ล
- ล ดํ รํ
ดํ ลซ ล

แบบฝึกที่ 6

- ม ซ ด
ร มซ ม
- ม ซ ล
ซ มร ม
- ม ซ ด
ร มซ ม
- ม ซ ล
ซ มร ม

แบบฝึกที่ 7

- ลฺ ด ร
ม ร ด ร
- ร ด ร
ม ร ด ร
- ลฺ ด ร
ม ร ด ร
- ร ด ร
ม ร ด ร

แบบฝึกที่ 8

- ล ซ ม
ซร ม ด
- ด ร ซ
ร มซ ม
- ล ซ ม
ซร ม ด
- ด ร ซ
ร มซ ม

แบบฝึกที่ 9

- ลฺ -
ลฺ ด ลฺ ด
- ด ร ซ
ร มซ ม
- ลฺ -
ลฺ ด ลฺ ด
- ด ร ซ
ร มซ ม



แบบฝึกที่ 10  ให้ฝึกเป่าแบบฝึกที่ 1-9 ต่อเนื่องกันจนจบบท

-   -
ล ล -
-ม ซ  ม
ร มซ ม
-   -  -
ล ล -
- ร  ด ร
ม ร ด ร
-   -
ล ล -
-ม ซ  ม
ร มซ ม
- -
ล ล -
- ร  ด ร
ม ร ด ร
- ล ซ ม
ซร ม ด
- ด ร ซ
ร มซ ม
- ล ซ ม
ซร ม ด
- ด ร ซ
ร มซ ม
- -
ล ด ล ด
- ด ร ซ
ร มซ ม
- -
ล ด ล ด
- ด ร ซ
ร มซ ม
- ล ซ ม
ซ ลซ ล
- ล ดํ รํ
ดํ ลซ ล
- ล ซ ม
ซ ลซ ล
- ล ดํ รํ
ดํ ลซ ล
- ม ซ ด
ร มซ ม
- ม ซ ล
ซ มร ม
- ม ซ ด
ร มซ ม
- ม ซ ล
ซ มร ม
- ล ด ร
ม ร ด ร
- ร ด ร
ม ร ด ร
- ล ด ร
ม ร ด ร
- ร ด ร
ม ร ด ร
- ล ซ ม
ซร ม ด
- ด ร ซ
ร มซ ม
- ล ซ ม
ซร ม ด
- ด ร ซ
ร มซ ม
- -
ล ด ล ด
- ด ร ซ
ร มซ ม
- -
ล ด ล ด
- ด ร ซ
ร มซ ม

ตัวอย่างการฝึกเป่าแคนลายภู่ตอมดอก
โดยนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5


การฝึกเป่าลายเต้ยโขง(ลายใหญ่)

การฝึกเป่าลายเต้ยโขง(ลายใหญ่)



คำแนะนำวิธีฝึกการใช้ลม

            1.ลายเต้ยโขงใช้โน้ตเดียวกันกับเพลงเต้ยโขงแต่การใช้ลมจะแตกต่างกันคือ     ในแต่ละห้องให้ใช้ช่วงลมเดียวแต่แบ่งลมเป่าออกเป็น 2 จังหวะย่อยเท่ากันเสมอทุกห้อง เช่น ถ้า 1 ห้องเพลงมีตัวโน้ต 1 ตัว ( 1 ระดับเสียง) ก็จะเป่าลมออกสองครั้ง ดังนี้เป็นต้น
            2.การใช้ลม ให้ทำริมฝีปากห่อเข้าและให้จรดกับรูปากเป่าที่เต้าแคนให้แน่น  ขณะเป่าลมเข้าหรือดูดลมออกให้ผันลิ้นคล้ายกับจะเปล่งคำว่า แลนแจน โดยออกเสียง คำว่า แลน และ แจน ให้สั้นที่สุด และเน้นการใช้ลมให้หนักที่โน้ตตัวสุดท้ายของห้อง(จังหวะตก)

แบบฝึกที่ 1

โน้ต

 - - - -
 - - -
- - -
- -
- - -
- ดํ -
- - -
- -

การใช้ลม

    
 ล    จ
 ล    จ
  ล    จ
 ล    จ
  ล    จ
 ล    จ
  ล    จ
คำอธิบาย  การใช้ลม 
1. อักษร    หมายถึงผันลิ้นออกเสียงคำว่า แลน (ออกเสียงให้เร็วและสั้น)
2. อักษร    หมายถึงผันลิ้นออกเสียงคำว่า แจน (ออกเสียงให้สั้นและหนัก)
3. สำเนียงของคำว่า แลน หรือ แจน จะมีระดับเสียงสูง กลาง ต่ำ  เปลี่ยนไปตามระดับเสียงของตัวโน้ต

แบบฝึกที่ 2

โน้ต

-  -  -  -
- -
 - - -
- -
 - - -
- -
 - - -
- -

การใช้ลม

 ล    จ
  ล    จ
 ล    จ
  ล    จ
 ล    จ
  ล    จ
 ล    จ
  ล    จ

แบบฝึกที่ 3

โน้ต

 - - -
- -
- -
- -
 - - -
- -
- -
- -

การใช้ลม

  ล    จ
  ล    จ
  ล    จ
  ล    จ
  ล    จ
  ล    จ
  ล    จ
  ล    จ

แบบฝึกที่ 4  ฝึกเป่าต่อเนื่องกันจนจบบท


 - - - -
 - - -
- - -
- -
- - -
- ดํ -
- - -
- -
-  -  -  -
- -
 - - -
- -
 - - -
- -
 - - -
- -
 - - -
- -
- -
- -
 - - -
- -
- -
- -

คำอธิบาย
1. ฝึกเป่าต่อเนื่องกันทั้ง 3 แบบฝึกจนจบเพลง โดยแบ่งลมเป่าเป็น 2  จังหวะย่อยต่อหนึ่งห้องเพลง ตามวิธีปฏิบัติที่เรียนมาแล้ว
2. เมื่อฝึกได้ชำนาญแล้วให้ฝึกเป่าลายเต้ยพม่าและลายเต้ยธรรมดา  โดยใช้ลมเป่า คำว่า แลนแจนเช่นเดียวกับการเป่าลายเต้ยโขง  เมื่อฝึกให้ต่อเนื่องกันทั้ง 3 ลายแคน   ก็จะเป็นการเป่าตามทำนองของหมอลำที่เรียกว่า ลำเต้ย

รายละเอียดเพิ่มเติม




ตัวอย่าง การฝึกเป่าแคนเพลงเต้ยโขง  โดยนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5