วันอังคารที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ลายภู่ตอมดอก(ลายน้อย)

                    การเป่าแคนลายภู่ตอมดอก(ลายน้อย)

               ลายภู่ตอมดอก (ลายน้อย) มีความสำคัญและความเป็นมาเหมือนกันลายผู้ตอมดอก(ลายใหญ่) คือ ลายภู่ตอมดอกดั้งเดิมจริงๆแล้วเป็นลายทางสั้นที่เลียนแบบเสียงของสัตว์ ในธรรมชาติ คือ แมลงภู่ ซึ่งคนอีสานจะเรียกว่า “แมงภู่” ตัวสีน้ำเงินแก่มองดูจนขียว เวลาบินตอมดอกไม้จะมีเสียงดังหึ่งๆ วนเวียนอยู่รอบๆดอกไม้แล้วค่อยๆ บินวนเข้าวงในดอกไม้จนในที่สุดก็โฉบเอาเกสรดอกไม้ออกไป ลักษณะเสียงของแมลงภู่จะมีทำนองลีลาช้าๆ ก่อนแล้วจะเร็วกระชั้นเข้าในที่สุด หมอแคนผู้มีอารมณ์ศิลปินได้ดัดแปลงกิริยาอาการทางธรรมชาติของแมลงภู่นี้ออกมาเป็นทำนองของเสียงดนตรี โดยมุ่งเลียนแบบเสียงของหมู่แมงภู่ที่กำลังบินหึ่งๆ อยู่นอกก่อนช้าๆ แล้วค่อยกระชับเข้ามาตามลำดับ จนในที่สุดถึงจุดที่แมงภู่ขย้ำดอกไม้อย่าเมามัน  เมื่อฟังลีลาของเสียงแคนจะได้ยินเป็นเสียงเล็กเสียงน้อย มีการเล่นเสียงเป็นกรณีพิเศษให้เหมือนกับเสียงแมลงภู่ที่กำลังตอมดอกไม้จริงๆ ความละเอียดบรรจงของเสียงแคนจะเหมือนคุณลักษณะของหมู่ภมรทั้งหลายที่พยายามดูดหรือนำเอาน้ำหวานจากเกสรไปโดยไม่ให้เกิดการชอกช้ำ ความสามารถของหมอแคนในช่วงนี้จึงเปรียบเหมือนความประณีตและสมบูรณ์ด้วยศิลปะในชั้นเชิงการเคล้าเกสรของหมู่ภมรที่ฉลาดนั่นเอง ในระยะหลังต่อมาได้มีผู้นำเอาลีลาอาการของหมู่ภมรนี้ไปดัดแปลงเป็นทำนองแคนขึ้นใหม่ โดยบรรเลงเป็นแนวทำนองแบบลายทางยาวที่มีเนื้อหาคล้ายทำนองเดิม สามารถนำไปบรรเลงได้ทั้งในทำนองลายใหญ่และลายน้อย สำหรับในเนื้อหานี้จะเสนอการเป่าในแนวของลายน้อยทางยาว ดังนี้
โน้ตำนอง ลายภู่ตอมดอก (ลายน้อย)
โน้ตลายภู่ตอมดอก(ลายน้อย)



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น