วันจันทร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ลายเต้ย(ลำเต้ย)

 การเป่าแคน ลายเต้ย(ลายใหญ่)       

                                                       

               ลายเต้ย เป็นลายแคนที่ใช้ประกอบการลำ ที่เรียกว่า "ลำเต้ย" ซึ่งเป็นการลำที่แทรกอยู่ในช่วงของการที่เรียกว่า "ลำล่อง" กล่าวคือในขณะที่หมอลำกำลังลำล่องตามทำนองลำไปเรื่อยๆ นั้นจะมีการเต้ยสลับกลอนลำไปเป็นช่วงๆ เพื่อเพิ่มความสนุกสนานและเนื้อหาสาระของการลำ การเต้ยจะมี 3 แบบ คือ เต้ยธรรมดา เต้ยโขง และ เต้ยพม่า โดยปกติจะเริ่มที่การเต้ยแบบธรรมดาก่อน แล้วจึงจะเป็นเต้ยพม่าหรือเต้ยโขงสลับกันไปตามเนื้อหาสาระของการลำ ฉะนั้นหมอแคนก็ต้องเป่าแคนประกอบการลำตามเนื้อหาทำนองที่หมอลำแสดง บางครั้งก็จะเป็นการลำเต้ยเพื่อตอบโต้หรือคู่กันระหว่างหมอลำฝ่ายชายกับฝ่ายหญิง ฉะนั้นหมอแคนก็ต้องเป่าลายแคนให้กลมกลืนกับสำเนียงลำของหมอลำทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิง และในการเป่าลายเต้ยแบบลายใหญ่ก็ติดสูดแคนที่เสียง มี ลูกที่ 7 แพขวา และเสียง ลาสูง ลูกที่ 8 แพขวา เช่นเดียวกับการเป่าลายใหญ่อื่นๆ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น