วันอังคารที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ลายแม่ฮ้างกล่อมลูก(ลายน้อย)

                                              การเป่าแคน ลายแม่ฮ้างกล่อมลูก(ลายน้อย)


                  ลายแม่ฮ้างกล่อมลูก(ลายน้อย)  เป็นลายแคนหมอแคนพื้นบ้านในอดีดได้พัฒนามาจากเพลงกล่อมเด็กของคนอีสานในสมัยก่อน(ย้อนเวลากลับไปหลัง 40-50 ปีมาแล้ว) คนอีสานสมัยก่อนเวลาให้ลูกนอนเปลจะเรียกว่า “นอนอู่”ซึ่งเป็นสำเนียงภาษาอีสาน ขณะที่กล่อมลูกนอนผู้เป็นแม่ เป็นยาย หรือ ผู้ที่มีอายุมาก(ในยุคนั้น) ก็จะร้องเป็นทำนองบทกล่อมของคนอีสาน ดังบทกล่อมบางตอน  ที่ว่า “นอนสาล่า บุดตาแม่สิก่อม นอนอู่แก้วสาแล้วแม่สิกวย อื่อ อื้อ แม่ไปไฮหมกไข่มาหา แม่ไปนาหมกปลามาป้อน แม่ไปส่อนหมกฮวกมาหา …….” ซึ่งกล่อมเป็นทำนองสำเนียงภาษาพูดของคนอีสานจากนั้นไม่นานเด็กที่นอนในอู่ก็จะเคลิ้มหลับไป ซึ่งบทกล่อมอันเยือกเย็นนี้เองเป็นแนวทางให้ศิลปินผู้มีอารมณ์ศิลป์ในยุคสมัยนั้นนำทำนองบทกล่อมนี้มาร้อยเรียงเป็นเสียงดนตรี โดยมีเจตนารมย์ที่จะบรรยายให้เห็นถึงสภาพหญิงม้ายที่ต้องทนต่อความทุกข์ยากลำบากในการเลี้ยงดูลูกและการทำมาหากินโดยลำพังคนเดียว ลายแม่ฮ้างกล่อมลูกนำมาบรรเลงเป็นลายแคนลายน้อยทางยาว ได้ดังนี้
โน้ตทำนอง ลายแม่ฮ้างกล่อมลูก (ลายน้อย)
โน้ตลายแม่ฮ้างกล่อมลูก(ลายน้อย)



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น