วันอังคารที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ลายล่องน้อย

การเป่าแคน ลายล่องน้อย หรือ อ่านหนังสือน้อย




รูปแคนลายน้อยลายล่องน้อย ที่เรียกชื่อว่า “ลายล่องน้อย” หรือ“ลายอ่านหนังสือน้อย”เพราะมีท่วงทำนอง คล้ายกับการอ่านหนังสือผูก ซึ่งเป็นหนังสือโบราณที่จารึกหรือเขียนลงบนใบลานแล้วนำมาร้อยด้วยด้ายเล็กๆ ติดกัน หนังสือนี้มักจะมีความยาวหลายๆ หน้า ผู้อ่านจะอ่านด้วยทำนองค่อนข้างช้าและมีการเอื้อนเสียง เช่นเดียวกับลายล่องใหญ่หรือลายอ่านหนังสือใหญ่เพียงแต่ระดับเสียงของทำนองสูงกว่าลายอ่านหนังสือใหญ่
             
การติดสูด
       
จะติดสูดเหมือลายน้อย คือติดที่ลูกแคนลูกที่ 7 และ  ลูกที่  แพขวา เพื่อใช้เป็นเสียงประสานยืน(เสียง Drone) หรือบางครั้งก็เรียกว่า เสียงเสิร์ฟประสานหลัก ซึ่งก็หมายถึงการประสานทำนองด้วยเสียง เร และเสียง ลาสูง เช่นเดียวกัน



ลายเต้ยผสม(ลำเต้ย)ลายน้อย

                           การเป่าแคนลายเต้ย(ลายน้อย)


               ลายเต้ย(ลายน้อย) เป็นลายแคนที่ใช้ประกอบการลำที่เรียกว่า”ลำเต้ย” เช่นเดียวกับการเต้ยในลายใหญ่ ซึ่งเป็นทำนองการลำที่แทรกอยู่ในช่วงของการลำที่เรียกว่า ”ลำล่อง“ กล่าวคือในขณะที่หมอลำกำลังล่องตามทำนองลำไปเรื่อยๆ นั้น จะมีการเต้ยสลับกลอนลำไปเป็นช่วงๆ เพื่อเพิ่มความสนุกสนานและเนื้อหาสาระของการลำ ซึ่งมี 3 แแบเช่นเดียวกับลายใหญ่ คือ เต้ยธรรมดา เต้ยโขง  และ เต้ยพม่า โดยหมอแคนต้องปิดสูดที่ลูกแคนให้เป็นลายน้อย คือติดสูดเสียง เร ลูกที่ 6 แพขวา และ เสียง ลาสูง ลูกที่ 8 แพขวา โดยปกติจะเริ่มที่การเต้ยแบบธรรมดาก่อน แล้วจึงจะเป็นเต้ยพม่าหรือเต้ยโขงสลับกันไปตามเนื้อหาสาระของการลำ ฉะนั้นหมอแคนต้องเป่าแคนประกอบการลำตามเนื้อหาทำนองที่หมอลำแสดง และบางครั้งก็จะเป็นการลำเต้ยเพื่อตอบโต้หรือคู่กันระหว่างหมอลำฝ่ายชายกับฝ่ายหญิง หมอแคนก็ต้องเป่าลายแคนให้กลมกลืนกับสำเนียงลำของหมอลำทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิง เช่นกัน



ลายลำเพลินแก้วหน้าม้า(ลายน้อย)

 การเป่าแคน ลายลำเพลิน



             การเป่าลายลำเพลิน(ลายน้อย) แนวทำนองการบรรเลงเช่นเดียวกับลายลำเพลิน(ลายใหญ่) แต่ระดับเสียงจะต่างกัน คือ ลายน้อยจะบรรเลงในโหมดของ Dm โดยติดสูดที่เสียง เร ลุกที่ 6 แพขวา และเสียง ลาสูง ลูกที่ 8 แพขวา มีแนวทำนองการบรรเลงหลายแบบตามยุคสมัยและความนิยมในแต่ละท้องถิ่น เช่น ในยุคลำเพลินแก้วหน้าม้า ลำเพลินมะโนราห์ ลำเพลินประยุกต์(เป็นทำนองลำที่ดัดแปลงเพิ่มเติมขึ้นมาใหม่ ซึ่งเป็นที่นิยมอยู่ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง) ดังนี้เป็นต้น 


ลายภู่ตอมดอก(ลายน้อย)

                    การเป่าแคนลายภู่ตอมดอก(ลายน้อย)

               ลายภู่ตอมดอก (ลายน้อย) มีความสำคัญและความเป็นมาเหมือนกันลายผู้ตอมดอก(ลายใหญ่) คือ ลายภู่ตอมดอกดั้งเดิมจริงๆแล้วเป็นลายทางสั้นที่เลียนแบบเสียงของสัตว์ ในธรรมชาติ คือ แมลงภู่ ซึ่งคนอีสานจะเรียกว่า “แมงภู่” ตัวสีน้ำเงินแก่มองดูจนขียว เวลาบินตอมดอกไม้จะมีเสียงดังหึ่งๆ วนเวียนอยู่รอบๆดอกไม้แล้วค่อยๆ บินวนเข้าวงในดอกไม้จนในที่สุดก็โฉบเอาเกสรดอกไม้ออกไป ลักษณะเสียงของแมลงภู่จะมีทำนองลีลาช้าๆ ก่อนแล้วจะเร็วกระชั้นเข้าในที่สุด หมอแคนผู้มีอารมณ์ศิลปินได้ดัดแปลงกิริยาอาการทางธรรมชาติของแมลงภู่นี้ออกมาเป็นทำนองของเสียงดนตรี โดยมุ่งเลียนแบบเสียงของหมู่แมงภู่ที่กำลังบินหึ่งๆ อยู่นอกก่อนช้าๆ แล้วค่อยกระชับเข้ามาตามลำดับ จนในที่สุดถึงจุดที่แมงภู่ขย้ำดอกไม้อย่าเมามัน  เมื่อฟังลีลาของเสียงแคนจะได้ยินเป็นเสียงเล็กเสียงน้อย มีการเล่นเสียงเป็นกรณีพิเศษให้เหมือนกับเสียงแมลงภู่ที่กำลังตอมดอกไม้จริงๆ ความละเอียดบรรจงของเสียงแคนจะเหมือนคุณลักษณะของหมู่ภมรทั้งหลายที่พยายามดูดหรือนำเอาน้ำหวานจากเกสรไปโดยไม่ให้เกิดการชอกช้ำ ความสามารถของหมอแคนในช่วงนี้จึงเปรียบเหมือนความประณีตและสมบูรณ์ด้วยศิลปะในชั้นเชิงการเคล้าเกสรของหมู่ภมรที่ฉลาดนั่นเอง ในระยะหลังต่อมาได้มีผู้นำเอาลีลาอาการของหมู่ภมรนี้ไปดัดแปลงเป็นทำนองแคนขึ้นใหม่ โดยบรรเลงเป็นแนวทำนองแบบลายทางยาวที่มีเนื้อหาคล้ายทำนองเดิม สามารถนำไปบรรเลงได้ทั้งในทำนองลายใหญ่และลายน้อย สำหรับในเนื้อหานี้จะเสนอการเป่าในแนวของลายน้อยทางยาว ดังนี้
โน้ตำนอง ลายภู่ตอมดอก (ลายน้อย)
โน้ตลายภู่ตอมดอก(ลายน้อย)



ลายลมพัดไผ่(ลายน้อย)

                                            การเป่าแคนลายลมพัดไผ่ (ลายน้อย)



รูปแคนลายน้อย
          การเป่าแคน ลายลมพัดไผ่ “ลายน้อย”  เป็นแนวทำนองเดียวกันกับลายลมพัดไผ่(ลายใหญ่) แต่ระดับเสียงของแนวทำนองจะสูงกว่าลายใหญ่ เวลาเป่าจะติดสูดที่เสียง เร ลูกที่ 6 และ เสียงลา ลูกที่ 8 แพขวา เป็นลายแคนที่เกิดจากการบรรยายภาพพจน์ที่มีความเกี่ยวข้องกับสภาพวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ และความผูกพันของคนกับสิ่งแวดล้อมในช่วงกาลเวลานั้นๆ เช่นเดียวกับลายใหญ่ นำไปประกอบการแสดงที่ชื่อว่า “ลำศรีโคตรบูรณ์” เช่นเดียวกัน และแนวทำนองของลายแคนอาจจะแตกต่างกันไปตามจินตนาการและการใช้ลูกเล่นหรือกลเม็ดเด็ดพลายของหมอแคนแค่ละคนที่พยายามสร้างสรรค์เสียงแคนให้เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตน และสิ่งที่ยังคงไว้เหมือนกันคือแนวทำนองที่เป็นลายทางยาว และกลุ่มเสียงที่เป็นทำนองของคำว่า “ลายน้อย” คือใช้เสียง เร และเสียง ลาสูง เป็นเสียงประสานยืน(เสียงDrone) ตลอดแนวทำนองการบรรเลง ดังตัวอย่าง 



ลายลมพัดพร้าว(ลายน้อย)

การเป่าแคน ลายลมพัดพร้าว(ลายน้อย)


               ลายลมพัดพร้าว(ลายน้อย)  ลายลมพัดพร้าว จัดอยู่ในกลุ่มลายแคนประเภทลายบรรยายภาพพจน์ มีความสำคัญและความเป็นมาเหมือนกับลายลมพัดพร้าว(ลายใหญ่) กล่าวคือศิลปินผู้เป็นหมอแคนพื้นบ้านในอดีดได้สร้างสรรค์แนวทำนองนี้ขึ้นเพื่อสะท้อนจินตนาการให้เห็นถึงความงาม อ่อนโยน อ่อนไหว ของธรรมชาติแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับชีวิตความเป็นอยู่ของกลุ่มชนนั้นๆในอดีด เข่น ต้นไม้ ผู้คน สัตว์ สิ่งของ แหล่งน้ำ ขนบธรรมเนียมประเพณี และสถานที่ต่างๆ แล้วนำมาร้อยเรียงและถ่ายทอดจินตนาการอันสร้างสรรค์นั้นด้วยเสียงดนตรีที่เขาชื่นชอบ นั่นคือแคนนั่นเอง เมื่อจดจำสืบทอดกันมาเป็นเวลานานก็ย่อมมีการสร้างสรรค์ทำนองให้แปลกแหวกแนวออกไปบ้างเพื่อเป็นเอกลักษณ์ของหมอแคนแต่ละคน ลายแคนที่มีชื่อว่า “ลายลมพัดพร้าว” ก็มีความเป็นมาที่เกี่ยวข้อง กับสภาพแวดล้อมดังกล่าวเช่นกัน คือ ผู้ประพันธ์ทำนองนี้ต้องการถ่ายทอดเจตนารมย์ไปสู่ผู้ฟังตามจินตนาการของตนเพื่อให้เห็นความงามหรือความไพเราะและเยือกเย็นของสายลมที่กำลังพัดใบมะพร้าวโอนเอนอ่อนไหวไปมาช้าๆเนิบนาบ ได้ยินเสียงสายลทที่พัดใบมะพร้าวปลิวสะบัดคล้ายลีลาเสียงดนตรีที่มีความไพเราะ จึงเรียกชื่อว่า “ลายลมพัดพร้าว“นอกจากนี้ในปัจจุบันยังได้นำเอาลายลมพัดพร้าวไปบรรเลงประกอบการแสดงที่เรียกว่า “รำภูไทสามเผ่า”  ด้วย ซึ่งมีแนวทำนองที่บรรเลงเป็นลายน้อย ดังนี้                



ลายแม่ฮ้างกล่อมลูก(ลายน้อย)

                                              การเป่าแคน ลายแม่ฮ้างกล่อมลูก(ลายน้อย)


                  ลายแม่ฮ้างกล่อมลูก(ลายน้อย)  เป็นลายแคนหมอแคนพื้นบ้านในอดีดได้พัฒนามาจากเพลงกล่อมเด็กของคนอีสานในสมัยก่อน(ย้อนเวลากลับไปหลัง 40-50 ปีมาแล้ว) คนอีสานสมัยก่อนเวลาให้ลูกนอนเปลจะเรียกว่า “นอนอู่”ซึ่งเป็นสำเนียงภาษาอีสาน ขณะที่กล่อมลูกนอนผู้เป็นแม่ เป็นยาย หรือ ผู้ที่มีอายุมาก(ในยุคนั้น) ก็จะร้องเป็นทำนองบทกล่อมของคนอีสาน ดังบทกล่อมบางตอน  ที่ว่า “นอนสาล่า บุดตาแม่สิก่อม นอนอู่แก้วสาแล้วแม่สิกวย อื่อ อื้อ แม่ไปไฮหมกไข่มาหา แม่ไปนาหมกปลามาป้อน แม่ไปส่อนหมกฮวกมาหา …….” ซึ่งกล่อมเป็นทำนองสำเนียงภาษาพูดของคนอีสานจากนั้นไม่นานเด็กที่นอนในอู่ก็จะเคลิ้มหลับไป ซึ่งบทกล่อมอันเยือกเย็นนี้เองเป็นแนวทางให้ศิลปินผู้มีอารมณ์ศิลป์ในยุคสมัยนั้นนำทำนองบทกล่อมนี้มาร้อยเรียงเป็นเสียงดนตรี โดยมีเจตนารมย์ที่จะบรรยายให้เห็นถึงสภาพหญิงม้ายที่ต้องทนต่อความทุกข์ยากลำบากในการเลี้ยงดูลูกและการทำมาหากินโดยลำพังคนเดียว ลายแม่ฮ้างกล่อมลูกนำมาบรรเลงเป็นลายแคนลายน้อยทางยาว ได้ดังนี้
โน้ตทำนอง ลายแม่ฮ้างกล่อมลูก (ลายน้อย)
โน้ตลายแม่ฮ้างกล่อมลูก(ลายน้อย)



ลายนกไซบินข้ามทุ่ง(ลายน้อย)

การเป่าแคน ลายนกไซบินข้ามทุ่ง (ลายน้อย)
       ลายนกไซบินข้ามทุ่ง(ลายน้อย) เป็นการบรรเลงเพื่อบรรยายหรือให้เกิดจินตนาการเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ ที่เกี่ยวข้องหรือผูกพันกับการทำมาหากินของผู้คนในสังคมเกษตรกรรม ในยุคสมัยนั้น โดยเฉพาะการทำไร่ทำนาที่ต้องพึ่งพาความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติ ซึ่งบางปีก็แห้งแล้ง น้ำในแหล่งน้ำตามธรรมชาติก็เหือดแห้ง ทำให้สัตว์หลายชนิดต้องอพยพถิ่นฐานไปที่อื่น จึงทำให้ศิลปิน  พื้นบ้านผู้มีอารมณ์ศิลป์ทั้งหลายได้นำเอากิริยาอาการของสัตว์ต่างๆเหล่านั้นมาเรียบเรียงแล้วถ่ายทอดออกมาเป็นทำนองของเสียงดนตรีที่พวกเขามีอยู่ จึงทำให้เกิดลายทำนองของดนตรีต่างๆ ขึ้น ลายแคนที่ชื่อว่า “ลายนกไซบินข้ามทุ่ง“ก็มีความเป็นมาดังนี้เช่นกัน คือ ผู้ประพันธ์ต้องการที่จะถ่ายทอดจินตนาถึงอากับปกิริยาของนกไซหรือนกใส่(ตามสำเนียงของคนอีสานหมายถึงนกหัวขวานที่กำลังกระพือปีกบินข้ามทุ่งนา) ผู้ประพัยธ์ทำนองนี้ คือ เปลื้อง ฉายรัศมี ซึ่งเป็นศิลปินแห่งชาติ การติดสูด ก็เหมือนลายน้อยทำนองอื่นๆ คือปิดที่เสียง เรสูง และเสียง ลาสูง (ลูกที่ 6 และ  8 แพขวา) ดังตัวอย่าง
โน้ตทำนอง ลายนกไซบินข้ามทุ่ง (ลายน้อย)
โน้ตลายนกไชบินข้ามทุ่ง(ลายน้อย)

วันจันทร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ลายล่องใหญ่(อ่านหนังสือใหญ่)

    การเป่าแคน ลายล่องใหญ่ หรือ อ่านหนังสือใหญ่

แคนน้อย1
ลายล่องใหญ่  

      ที่เรียกชื่อว่า“ลายล่องใหญ่” หรือ “ลายอ่านหนังสือใหญ่"  เพราะมีท่วงทำนอง คล้ายกับการอ่านหนังสือผูก ซึ่งเป็นหนังสือโบราณ ที่จารึกหรือเขียนลงบนใบลานแล้วนำมาร้อยด้วยด้ายเล็กๆ ติดกัน หนังสือนี้มักจะมีความยาวหลายๆ หน้า ผู้อ่านจะอ่านด้วยทำนองค่อนข้างช้าและมีการเอื้อนเสียง

      การติดสูด  จะติดสูดที่ลูกแคนลูกที่ 8 และลูกที่ 7 แพขวา เพื่อใช้เป็นเสียงประสานยืน(เสียง Drone) หรือบางครั้งก็เรียกว่า เสียงเสิร์ฟประสานหลัก ซึ่งก็หมายถึงการประสานทำนองด้วยเสียง ลา และเสียง มี เช่นเดียวกัน

ลายเต้ย(ลำเต้ย)

 การเป่าแคน ลายเต้ย(ลายใหญ่)       

                                                       

               ลายเต้ย เป็นลายแคนที่ใช้ประกอบการลำ ที่เรียกว่า "ลำเต้ย" ซึ่งเป็นการลำที่แทรกอยู่ในช่วงของการที่เรียกว่า "ลำล่อง" กล่าวคือในขณะที่หมอลำกำลังลำล่องตามทำนองลำไปเรื่อยๆ นั้นจะมีการเต้ยสลับกลอนลำไปเป็นช่วงๆ เพื่อเพิ่มความสนุกสนานและเนื้อหาสาระของการลำ การเต้ยจะมี 3 แบบ คือ เต้ยธรรมดา เต้ยโขง และ เต้ยพม่า โดยปกติจะเริ่มที่การเต้ยแบบธรรมดาก่อน แล้วจึงจะเป็นเต้ยพม่าหรือเต้ยโขงสลับกันไปตามเนื้อหาสาระของการลำ ฉะนั้นหมอแคนก็ต้องเป่าแคนประกอบการลำตามเนื้อหาทำนองที่หมอลำแสดง บางครั้งก็จะเป็นการลำเต้ยเพื่อตอบโต้หรือคู่กันระหว่างหมอลำฝ่ายชายกับฝ่ายหญิง ฉะนั้นหมอแคนก็ต้องเป่าลายแคนให้กลมกลืนกับสำเนียงลำของหมอลำทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิง และในการเป่าลายเต้ยแบบลายใหญ่ก็ติดสูดแคนที่เสียง มี ลูกที่ 7 แพขวา และเสียง ลาสูง ลูกที่ 8 แพขวา เช่นเดียวกับการเป่าลายใหญ่อื่นๆ 

ลายลำเพลินแก้วหน้าม้า(ลายใหญ่)

 การเป่าแคน ลายลำเพลินแก้วหน้าม้า(ลายใหญ่)

                 
       การเป่าแคนลายลำเพลิน  เป็นการแคนลายลำเพลิน เป็นการเป่าแคนประกอบการละเล่นพื้นเมืองของกลุ่มชนที่อาศัยอยู่ในแถบอีสานตอนกลางทางฝั่งขวาแม่น้ำโขง และอีสานตอนบนบางส่วน ซึ่งแพร่กระจายลึกเข้าไปทางตะวันตกถึงแถบจังหวัดชัยภูมิและเพชรบูรณ์ การแสดงที่เรียกชื่อว่าหมอลำประเภทลำเพลินกำลังเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในช่วงประมาณ ปี พ.ศ. 25105 ถึง พ.ศ. 2525 หลังจากนั้นไม่นานก็เริ่มได้รับความสนใจนอ้ยลงเรื่อยๆ เนื่องจากวัฒนธรรมดนตรีตะวันตกได้หลั่งไหลเข้ามา ทำให้เด็กๆ และเยาวชนส่วนใหญ่หันไปนิยมในวัฒนธรรมดนตรีและการแสดงของชาวตะวันตกกันมาก จนกระทั่งปัจจุบันจะเห็นได้ว่าเด็กๆและเยาวชนที่สนใจในดนตรีและการแสดงที่เป็นเอกลักษณ์ของคนอีสานนั้นมีน้อย จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่คนอีสานจะต้องร่วมมือกันหาทางอนุรักษ์วัฒนธรรมที่ดีงามของตนไว้ 
โดยเฉพาะเสียงลำเสียงแคนที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมดนตรีของคนอีสาน การเป่าแคนลายลำเพลิน
ก็เช่นเดียวกัน ถึงแม้จะหาชมการแสดงได้ยากแต่ก็สามารถนำแคนมาบรรเลงเป็นทำนองที่เรียกชื่อว่า “ลายลำเพลิน” ได้ ซึ่งในช่วงเวลานั้นมีการพัฒนาแนวทำนองเป็นหลายทำนอง เช่น ลำเพลินแก้วหน้าม้า
ลำเพลินมะโนราห์ ลำเพลินประยุกต์  ตามควานิยมของแต่ละท้องถิ่นดังนี้เป็นต้น ในเรื่องนี้จะนำเสนอการฝึกเป่าลายลำเพลิน(เป่าแบบลายใหญ่ ทางยาว) ดังนี้ 
(โน้ตทำนองอยู่ระหว่าปรับปรุง)

ลายลมพัดไผ่(ลายใหญ่)

การเป่าแคน ลายลมพัดไผ่


             การเป่าแคน ลายลมพัดไผ่  เป็นลายแคนที่เกิดจากการบรรยายภาพพจน์อีกแบบหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงศิลปะหรือสภาพความงามทางธรรมชาติอีกด้นหนึ่ง ที่มีความเกี่ยวข้องกับสภาพวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ และความผูกพันของคนกับสิ่งแวดล้อมในช่วงกาลเวลานั้นๆ อีกทั้งยังเป็น การบรรยายให้เห็นถึงศิลปะและความงามที่มีอยู่ในธรรมชาติแล้วนำมาถ่ายทอดในลักษณะการแสดงที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของกลุ่มชนนั้นๆ ดังจะเห็นได้จากศิลปะการแสดงของกลุ่มชนในแถบฝั่งขวาของแม่น้ำโขง เช่น จังหวัดนครพนม จะนำเอาลายแคนที่ชื่อว่า "ลายลมพัดไผ่" นำไปประกอบการแสดงที่ชื่อว่า "รำศรีโคตรบูรณ์" ลายแคนนี้จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "ลายศรีโคตรบูรณ์" ซึ่งการบรรเลงลายทำนองของแคนอาจจะแตกต่างกันไปตามจินตนาการและการใช้ลูกเล่นหรือกลเม็ดเด็ดพลายของหมอแคนแค่ละคนที่พยายามจะสร้างสรรค์เสียงแคนให้เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตน แต่สิ่งที่ยังคงไว้ก็คือแนวทำนองของแคนที่เป็นลายทางยาว และกลุ่มเสียงที่เป็นทำนองของคำว่า "ลายใหญ่" คือใช้เสียง ลา(ลูกที่ 8 แพขวา) และเสียง มีสูง(ลูกที่ 7 แพขวา) เป็นเสียงประสานยืน(เสียงDrone)ตลอดแนวทำนองการบรรเลง ดังตัวอย่างการฝึกเป่าลายลมพัดไผ่ ดังนี้


ลายนกไซบินข้ามทุ่ง(ลายใหญ่)

            ลายนกไซบินข้ามทุ่ง


ลายนกไซบินข้ามทุ่ง บางทีเรียกว่า "ลายเชิงโปงลาง" เป็นลายแคนที่นำมาบรรเลงเพื่อพรรณนาหรือบรรยายภาพพจน์ตามธรรมชาติและสื่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ของกลุ่มคนในฤดุการทำไร่ ทำนา ของสังคมในชนบท เป็นการบรรยายให้เห็นสภาพที่ธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์และหลากหลาย มีแหล่งอาหารของสัตว์นานาชนิด และจากการสังเกตกิริยาอาการของสัตว์ของหมอแคนในอดีด จึงได้ถ่ายทอดจินตนาการนั้นๆ ออกมาในรูปของเสียงดนตรีที่พวกเขาชื่นชอบ เช่น นำเอาลักษณะท่าทางการบินของนกที่บินออกหากินหรือบางพวกก็อพยพย้ายถิ่นฐานบินผ่านท้องฟ้าไป ศิลปินหรือผู้มีอารมณ์ศิลป์เหล่านั้นจึงนำมาถ่ายทอดเป็นแนวทำนองของดนตรี กลายเป็นลายแคนที่ขื่อ "ลายนกไซบินข้ามทุ่ง" และถ้าเป็นการบรรเลงแนวทำนองที่เป็นลายใหญ่ ทางยาว จะติดสูดที่เสียง มี ลูกที่ 7 แพขวา และเสียง ลาสูง ลูกที่ 8 แพขวา เพื่อทำเป็นเสียงประสานยือน(เสียงDrone) มีแนวทำนองดังตัวอย่าง ดังนี้
โน้ตทำนอง ลายนกไซบินข้ามทุ่ง (ลายใหญ่)
โน้ตลายนกไชบินข้ามทุ่ง(ลายใหญ่)

ลายรำโปงลาง(ลายใหญ่)

การเป่าแคน ลายรำโปงลาง(ลายใหญ่)



                     การเป่าแคน ลายรำโปงลาง เป็นการเป่าตามแบบทางยาวที่มีแนวทำนองแบบลายน้อย (กลุ่มเสียงสูงปานกลาง) เช่นเดียวกันกับลายน้อย เป็นแนวทำนองปัจจุบันที่เรียกว่า "เพลง" โดยจะติดสูดที่ลูกแคนลูกที่ 7 และ ลูกที่ แพขวา เพื่อให้เป็นเสียงเสิร์ฟหรือเสียงประสานยืน(เสียง Drone) ลักษณะการเดินทำนองจะเริ่มด้วยการบรรเลงจากระดับเสียงที่ต่ำที่สุดแล้วค่อยๆสูงขึ้นเรื่อยๆ ต ามลำดับจนถึงเสียงสูงที่สุด(เช่นเดียวกับลายน้อย) และด้วยเหตุนี้เองจึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "ลายไล่วัวขึ้นภู" ดังตัวอย่างโน้ตทำนอง ดังนี้


โน้ตแคน ลายรำโปงลาง(ลายใหญ่)



ลายรำโปงลาง(ลายน้อย)

การเป่าแคน ลายรำโปงลาง (ลายน้อย)

                การเป่าแคน ลายรำโปงลาง เป็นการเป่าตามแบบทางยาวที่มีแนวทำนองแบบลายน้อย (กลุ่มเสียงสูงปานกลาง) เป็นแนวทำนองปัจจุบันที่เรียกว่า "เพลง" โดยจะติดสูดที่ลูกแคนลูกที่ และ 
ลูกที่ แพขวา เพื่อให้เป็นเสียงเสิร์ฟหรือเสียงประสานยืน(เสียง Drone) ลักษณะการเดินทำนองจะเริ่มด้วยการบรรเลงจากระดับเสียงที่ต่ำที่สุดแล้วค่อยๆสูงขึ้นเรื่อยๆตามลำดับจนถึงระดับเสียงที่สูงที่สุด และด้วยเหตุนี้เองจึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "ลายไล่วัวขึ้นภู" ดังตัวอย่างโน้ตทำนอง ดังนี้


โน้ตแคน ลายรำโปงลาง(ลายน้อย)


ลายเต้ย 3 จังหวะ(ลายน้อย)

การเป่าแคน ลายเต้ย 3 จังหวะ (เพลงเต้ย)

                การเป่าลายเต้ย 3 จังหวะ (ลายน้อย ทางยาว)เป็นการเป่าในลักษณะแนวทำนองลายน้อย โดยจะติดสูดที่ลูกแคนลูกที่ 6 และ ลูกที่ 8 แพขวา ให้เป็นเสียงเสิร์ฟหรือเสียงประสานยืน(เสียง Drone) เป็นการเป่าในทำนองเพลง เริ่มจากเพลงเต้ยธรรมดา เพลงเต้ยโขง และเต้ยพม่า โดยบรรเลงต่อเนื่องกันจนจบเพลง ดังตัวอย่างโน้ตทำนอง ดังนี้

                          ท่อนที่ 1 เพลงเต้ยธรรมดา(ลายน้อย)

                         ท่อนที่ 2 เพลงเต้ยโขง(ลายน้อย)

                        ท่อนที่ 3 เพลงเต้ยพม่า(ลายน้อย)

วันอาทิตย์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ลายเต้ย 3 จังหวะ(ลายใหญ่)

การเป่าแคน ลายเต้ย 3 จังหวะ (เพลงเต้ย)

                การเป่าลายเต้ย 3 จังหวะ(เพลงเต้ย) ในลักษณะการเป่าตามแนวทำนองแบบลายใหญ่(กลุ่มเสียงทุ้มใหญ่) เป็นการเป่าในแนวทำนองปัจจุบันที่เรียกว่า "เพลง" โดยจะติดสูดที่ลูกแคนลูกที่ และ ลูกที่ แพขวา เพื่อเป็นเสียงเสิร์ฟหรือเสียงประสานยืน(เสียง Drone) เป็นการเป่าทำนองเพลงเต้ยธรรมดา เต้ยโขง และเต้ยพม่า เป่าให้ต่อเนื่องกันจนจบเพลง ดังตัวอย่างโน้ตทำนอง ดังนี้

           ท่อนที่ 1 เพลงเต้ยธรรมดา

          ท่อนที่ 2 เพลงเต้ยโขง

          ท่อนที่ 3 เพลงเต้ยพม่า

วันพุธที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ลายโป้ซ้าย

กาเป่าแคนลายโป้ซ้าย

                         ลายโป้ซ้าย  เป็นการเป่าแคนทำนองลายทางสั้นใช้ประกอบการลำกลอนเช่นเดียวกับลายสุดสะแนน แต่เสียงจะสูงกว่าลายสุดสะแนน จะติดสูดเพื่อทำเป็นเสียงเสิร์ฟประสาหลัก(เสียงDrone) ที่เสียงซอล ลูกที่ 8 แพซ้าย และใช้นิ้วหัวแม่มือเสียงโดสูง ลูกที่ 1 แพซ้าย(ไม่ต้องใช้สูด) ซึ่งจะทำให้มีเสียงสูงกว่าลายสุดสะแนน

ภาพการติดสูดลายโป้ซ้าย 

แผนผังโป้ซ้าย 1
ติดสูดโป้ซ้าย

ตัวอย่างการเป่าแคน ลายโป้ซ้าย

โดย ฝึกเป่าช้าๆ เมื่อเป่าได้คล่องแล้วจึงเพิ่มความเร็วของจังหวะให้เร็วขึ้น