วันอังคารที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ลายลมพัดพร้าว(ลายน้อย)

การเป่าแคน ลายลมพัดพร้าว(ลายน้อย)


               ลายลมพัดพร้าว(ลายน้อย)  ลายลมพัดพร้าว จัดอยู่ในกลุ่มลายแคนประเภทลายบรรยายภาพพจน์ มีความสำคัญและความเป็นมาเหมือนกับลายลมพัดพร้าว(ลายใหญ่) กล่าวคือศิลปินผู้เป็นหมอแคนพื้นบ้านในอดีดได้สร้างสรรค์แนวทำนองนี้ขึ้นเพื่อสะท้อนจินตนาการให้เห็นถึงความงาม อ่อนโยน อ่อนไหว ของธรรมชาติแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับชีวิตความเป็นอยู่ของกลุ่มชนนั้นๆในอดีด เข่น ต้นไม้ ผู้คน สัตว์ สิ่งของ แหล่งน้ำ ขนบธรรมเนียมประเพณี และสถานที่ต่างๆ แล้วนำมาร้อยเรียงและถ่ายทอดจินตนาการอันสร้างสรรค์นั้นด้วยเสียงดนตรีที่เขาชื่นชอบ นั่นคือแคนนั่นเอง เมื่อจดจำสืบทอดกันมาเป็นเวลานานก็ย่อมมีการสร้างสรรค์ทำนองให้แปลกแหวกแนวออกไปบ้างเพื่อเป็นเอกลักษณ์ของหมอแคนแต่ละคน ลายแคนที่มีชื่อว่า “ลายลมพัดพร้าว” ก็มีความเป็นมาที่เกี่ยวข้อง กับสภาพแวดล้อมดังกล่าวเช่นกัน คือ ผู้ประพันธ์ทำนองนี้ต้องการถ่ายทอดเจตนารมย์ไปสู่ผู้ฟังตามจินตนาการของตนเพื่อให้เห็นความงามหรือความไพเราะและเยือกเย็นของสายลมที่กำลังพัดใบมะพร้าวโอนเอนอ่อนไหวไปมาช้าๆเนิบนาบ ได้ยินเสียงสายลทที่พัดใบมะพร้าวปลิวสะบัดคล้ายลีลาเสียงดนตรีที่มีความไพเราะ จึงเรียกชื่อว่า “ลายลมพัดพร้าว“นอกจากนี้ในปัจจุบันยังได้นำเอาลายลมพัดพร้าวไปบรรเลงประกอบการแสดงที่เรียกว่า “รำภูไทสามเผ่า”  ด้วย ซึ่งมีแนวทำนองที่บรรเลงเป็นลายน้อย ดังนี้                



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น