วันเสาร์ที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2556

การเกริ่นทำนองคำว่า “ จ้าน” (ลายน้อย) แบบที่ 2


การฝึกเป่าแคนขั้นสูง ตอนที่ 5 การเกริ่นทำนองคำว่า จ้าน(ลายน้อย)

            คำว่า  จ้าน หรือ จ้าด (ลายน้อย)เป็นการเกริ่นทำนองอีกแบบหนึ่งที่ใช้บรรเลงก่อนนำเข้าสู่การเป่าแคนลายน้อย (ทางยาว) ซึ่งมีทำนองคล้ายกับสำเนียงภาษาพูดว่า จ้าน ……จ้านจ้าน………เช่นเดียวกับลายใหญ่ซึ่งจะทำให้ลายแคนมีความไพเราะอ่อนหวาน  โดยติดสูดที่ระดับเสียง  ลํ  (แพขวามีลำดับขั้นการปฏิบัติดังนี้

วิธีปฏิบัติ
1.ใช้นิ้วปิดรูนับเสียง ฟํ ฟ ร ดํ (แพซ้าย) และเสียง รํ (แพขวา) ทำริมฝีปากห่อเข้าและผันลิ้นคล้ายกับจะเปล่งสำเนียงว่า  จ้าน….  แล้วเป่าลมเข้าประมาณ 1 วินาที
(ดูแผนภูมิที่ 1) 



วิธีปฏิบัติ


2. (ต่อจากขั้นที่ 1) ให้ปล่อยนิ้วเพื่อเปิดรูนับเสียง ฟํ ฟ ดํ  ที่แพซ้ายออกให้เหลือไว้เฉพาะเสียง    แพซ้ายและเสียง รํ  แพขวา และปล่อยให้ลมเป่ายืดออกไป 2-3 วินาที (ดูแผนภูมิขั้นที่ 2)
ถ้าต้องการคำว่า จ้าน …………………….เพียงครั้งเดียว หรือ  ช่วงลมเดียวก็เป่าให้เสียงแคนยืดออกไปอีกได้ตามต้องการ  แต่ถ้าต้องการคำว่า จ้าน ต่อกันหลายครั้งให้ปฏิบัติในขั้นที่ 3 ต่อไป



วิธีปฏิบัติ

            3. (ต่อจากขั้นที่2)ปิดรูนับเสียง ฟํ ฟ ร ดํ (แพซ้าย) และเสียง รํ (แพขวา) พร้อมกันอีกครั้ง (เช่นเดียวกับขั้นที่ 1) แล้วรีบปล่อยนิ้วให้เหลือเฉพาะเสียง และ รํ เช่นเดียวกับขั้นที่ 2 (แผนภูมิที่ 2) และเป่าลมเข้าให้เสียงแคนยืดออกไปอีกตามต้องการ  ในขั้นนี้จะมีทำนองคล้ายกับคำว่า  จ้านจ้าน……………….
            ข้อควรสังเกต 
1. การเป่าคำว่า จ้านให้ใช้ลมช่วงเดียวตลอดตั้งแต่ต้นจนจบ  จะใช้ลมเป่าเข้าหรือดูดออกก็ได้ตามความถนัด โดยแบ่งลมออกเป็น 3 ช่วง  จะได้เสียงแคนที่มีเสียงดังคล้ายกับคำว่า จ้าน………..จ้านจ้าน………………” (เช่นเดียวกับลายใหญ่)
2. ระดับเสียงที่ต้องปิดรูนับตลอดการบรรเลงคือระดับเสียง ร รํ, ลํ  เป็นการเป่าคำว่า จ้าน ทำนองลายน้อย


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น