วันพฤหัสบดีที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2556

บทที่ 9 การฝึกใช้ลมเป่าแคน


การฝึกใช้ลมในการเป่าแคน
          การใช้ลมในการเป่าแคน  เป็นการบังคับทิศทางและน้ำหนักของลมที่เป่าเข้าหรือดูดออกจากรูเป่าของเต้าแคน โดยใช้อวัยวะต่างๆ เช่น  ริมฝีปาก  ลิ้น และฟัน  ทั้งนี้เพื่อให้เสียงแคนมีจังหวะหนักหรือเบาตลอดจนมีเสียงสั้นหรือเสียงยาวได้ตามต้องการ  อาจกล่าวได้ว่าการใช้ลมเป่าถือเป็นหัวใจสำคัญที่สุดในการสร้างสรรค์ลายแคนให้มีความไพเราะ วิธีการฝึกใช้ลมเป่าในการสร้างสรรค์เสียงแคนให้ไพเราะน่าฟังมีหลายลักษณะ ดังนี้
           วิธีฝึกใช้ริมฝีปาก ลิ้น และฟัน ในการเป่าแคน
                   1. การทำให้เสียงแคนมีจังหวะหนัก-เบา  มีวิธีการดังนี้ คือ ในขณะที่เป่าแคนให้ทำริมฝีปากห่อเข้าและบีบเข้าหากันให้เหลือเป็นรูเล็กๆ เพื่อใช้สำหรับเป่าลมเข้าหรือดูดลมออกจากรูเป่าบนเต้าแคนพร้อมกับเป่าลมเข้าหรือดูดลมออก ถ้าเป่าออกอย่างแรงก็จเป็นจังหวะหนัก หรือถ้าใช้ลมเป่าออกเบา ๆ ก็จะเป็นจังหวะเบา
                   2.  การฝึกเป่าแคนให้มีเสียงสั้นและเสียงยาว ขึ้นอยู่กับระยะเวลาในการเป่า ถ้าดูดลมออกนานก็จะเป็นลมยาว หรือถ้าเป่าลมเข้าหรือดูดลมออกด้วยเวลาน้อยก็จะเป็นลมสั้น ซึ่งการเป่าลมเข้าหรือดูดลมออกดังกล่าวอาจใช้ลมเป่าได้หลายลักษณะ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับทำนองหรือลายแคนที่จะบรรเลง ลักษณะลมเป่า เช่น
                         2.1  การฝึกเป่าลมชั้นเดียว
                         2.2  การฝึกเป่าลมสองชั้น
                   3.  รูปแบบการเป่า ขึ้นอยูกับลักษณะของทำนอง เช่น การเป่าแคนลายทางสั้น การเป่าทางยาว หรือการเป่าแบบอื่นๆ ก็จะแตกต่างกันออกไป ซึ่งลักษณะเหล่านี้ผู้เขียนจะได้อธิบายพร้อมมีตัวอย่างการฝึกทั้งลักษณะการฝึกเป่าแคนเบ้ืองต้นและการฝึกเป่าแคนชั้นสูง ซึ่งรายละเอียดจะกล่าวในลำดับต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น