การฝึกเป่าแคนขั้นสูง ตอนที่ 2 การฝึกเป่าแคนโดยฝึกใช้ลมเป่า ควบคุมการเป่าลมออกจากปาก
การฝึกใช้ลมเป่า
การฝึกใช้ลมเป่าในขั้นเบื้องต้นจะเป็นการฝึกเป่าแบบผ่อนลมและการเป่าตัดลม
(ส่วนการเป่าสะบัดเสียงและการเป่าอ้อนเสียงจะอธิบายเพิ่มเติมในการฝึกเป่าลายแคนในลำดับขั้นต่อไป)
การฝึกเป่าผ่อนลมและการเป่าตัดลม
จะเป็นการฝึกขั้นพื้นฐาน โดยฝึกไปพร้อมๆ กันกับการฝึกไล่ระดับเสียง
อาจจะเรียงจากเสียงต่ำไปยังเสียงสูง
หรือเรียงจากระดับเสียงต่ำสุดของเสียงแคน(เสียงลาต่ำ)ก็ได้ซึ่งการฝึกในขั้นนี้จะเน้นจังหวะการใช้ลมเป่าให้กระชับหนักแน่น
และความชัดเจนของเสียงแคนเป็นสำคัญ
การเป่าผ่อนลม
เป็นการเป่าลมเข้าหรือดูดลมออกจากเต้าแคนเพื่อให้จังหวะของเสียงแคนยืดออกไปได้นานๆ
ตามความต้องการของผู้เป่าที่จะทำให้เกิดความรู้สึกหรืออารมณ์คล้อยตามสำเนียงของเสียงแคนในลักษณะต่างๆ
เช่น ความรู้สึกเยือกเย็น อ่อนหวาน โศกเศร้า ดีใจคิดถึงชื่นใจ หรือปลื้มอกปลื้มใจ(คนอีสานเรียกว่า“ออนซอน”) ดังนี้เป็นต้น ซึ่งอารมณ์หรือความรู้สึกต่างๆ
เหล่านี้จะขึ้นอยู่กับทำนองและจุดประสงค์ของผู้เป่าเป็นสำคัญ การฝึกเป่าผ่อนลมจะเริ่มฝึกทีละคู่เสียงพร้อมกับฝึกการใช้นิ้วปิดรูนับไปพร้อมกัน ตามตัวอย่างนี้จะเริ่มจากเสียงลา คู่ 8 (ลฺ ล) ซึ่งเป็นเสียงต่ำสุด ดังนี้
วิธีฝึกเป่าผ่อนลม
ปิดรูนับเสียงลา คู่ 8 (ลฺ ล) (ตามแผนภูมิ)และทำริมฝีปากคล้ายกับจะเปล่งเสียงคำว่า “ดู” ตามวิธีที่เรียนมาแล้ว แล้วเป่าลมเข้าให้เป็นจังหวะเดียวหรือเป็นเสียงยาวติดต่อกันไปจนสุดลมหายใจ
แล้วจึงเปลี่ยนเป็นดูดลมออก โดยยังคงทำริมฝีปากคล้ายกับจะเปล่งเสียงคำว่า “ดู”
เช่นเดิม ทำสลับกันไปเช่นนี้จนเกิดความเคยชิน
และพยายามจำตำแหน่งเสียงและการใช้นิ้วมือให้ได้
สำหรับคู่เสียงอื่นๆ ที่เหลือคือ เสียงโด เร มี
ฟา ซอล ที
ให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับการฝึกเป่าเสียงลา คู่ 8 (ลฺ
ล) เพียงแต่เปลี่ยนตำแหน่งการวางนิ้วมือให้ตรงกับตำแหน่งเสียงของแต่ละคู่เสียง
โดยยึดแผนภูมิแสดงตำแหน่งเสียง คู่เสียง และการวางนิ้วมือบนลูกแคนเป็นสำคัญ
การเป่าตัดลม
การเป่าตัดลม เป็นการทำให้ลมที่เป่าเข้าหรือดูดออกจากเต้าแคนถูกแบ่งหรือปิดกั้นไว้เป็นช่วงสั้นๆ ตามอัตราจังหวะของตัวโน้ต หรือตามทำนองของลายแคน มีทั้งช่วงที่เป็นจังหวะหนักและช่วงที่เป็นจังหวะเบา หรือบางทีเรียกว่า“เสียงหนักเสียงเบา” การเป่าแคนที่มีเสียงหนักเสียงเบา เป็นข้อปฏิบัติที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งที่จะทำให้เสียงแคนมีความไพเราะ โดดเด่นและหนักแน่น เพื่อให้เกิดทักษะที่ดีและง่ายต่อการฝึกปฏิบัติในระยะเริ่มแรก ควรฝึกตามรูปแบบ ดังตัวอย่างต่อไปนี้การเป่าตัดลมแบบที่ 1
เป็นการเป่าตัดลมที่ทำให้เสียงแคนมีจังหวะยาว เมื่อฟังแล้วจะเหมือนกับเป็นเสียงหนักหรือเสียงยาว
ซึ่งมีลักษณะการฝึกตามแบบฝึก ดังนี้
แบบฝึกที่ 1 การตัดลม
เป่าให้เป็นจังหวะยาวเท่ากับ 1 ห้องเพลง (4 จังหวะย่อย)
การใช้ลม
|
- - - ดู
|
- - - ดู
|
- - - ดู
|
- - - ดู
|
- - - ดู
|
- - - ดู
|
- - - ดู
|
- - - ดู
|
วิธีปฏิบัติ ขณะที่ปิดรูนับเสียงลา คู่ 8 (ลฺ ล) ให้เปล่งลมเป่าคำว่า “ดู” ออกมาอย่างแรงและเร็วติดต่อกันเป็นช่วงๆ แต่ละช่วงนับเป็นจังหวะยาว เท่ากับ 1 ห้องเพลง และขณะที่เป่าคำว่า “ดู” ผู้ฟังจะได้ยินเสียงคำว่า “ลา” ซึ่งมีจังหวะหนักแน่น ชัดเจน และจังหวะตกตรงกับโน้ตตัวสุดท้ายของแต่ละห้องเพลง ให้ฝึกเป่าเช่นนี้ไปเรื่อยๆ จนเกิดทักษะความเคยชิน
แบบฝึกที่ 2 การตัดลม
เป่าโดยแบ่งลมออกเป็น 2 ช่วง (2 จังหวะย่อย)ในแต่ละห้องเพลง
การใช้ลม
|
- ดู
- ดู
|
- ดู
- ดู
|
- ดู
- ดู
|
- ดู
- ดู
|
- ดู
- ดู
|
- ดู
- ดู
|
- ดู
- ดู
|
- ดู
- ดู
|
วิธีปฏิบัติ ขณะปิดเสียงลา คู่ 8 (ลฺ ล) ให้เปล่งลมเป่าคำว่า
“ดู” ออกมาอย่างแรงและเร็ว โดยใช้ปลายลิ้นช่วยเปิดหรือปิดเพดานเพื่อแบ่งลมเป่าเป็น 2 ช่วงหรือ 2 จังหวะย่อย
ใน 1 ห้องเพลง การเป่าคำว่า “ดู” ครั้งที่ 2
จะตรงกับจังหวะตกของแต่ละห้องเพลง
ให้ฝึกวิธีใช้ลมเป่าเช่นนี้ จนเกิดทักษะและความเคยชิน
แบบฝึกที่ 3 การตัดลม
ฝึกแบ่งลมเป่าออกเป็น 1 จังหวะย่อย และให้จังหวะสุดท้ายของห้องซึ่งเป็นจังหวะตกยืดออกไปอีก 1 จังหวะย่อย
การใช้ลม
|
- ดู
ดู ดู
|
- ดู
ดู ดู
|
- ดู
ดู ดู
|
- ดู
ดู ดู
|
- ดู
ดู ดู
|
- ดู
ดู ดู
|
- ดู
ดู ดู
|
- ดู
ดู ดู
|
วิธีปฏิบัติ
ขณะปิดเสียงลา คู่ 8 (ลฺ ล) ให้เปล่งลมเป่าคำว่า
“ดู” ออกมาอย่างแรงและเร็ว ติดต่อกัน 3
ครั้ง โดยใช้ปลายลิ้นช่วยเปิดหรือปิดเพดานเพื่อแบ่งลมเป่าเป็น 3 ช่วงหรือ 3 จังหวะย่อย ใน 1 ห้องเพลง
และให้จังหวะสุดท้ายยืดออกไปอีก 1 จังหวะย่อย การเป่าคำว่า “ดู” ครั้งที่ 3 จะตรงกับจังหวะตกของแต่ละห้องเพลง ให้ฝึกวิธีการใช้ลมเป่าเช่นนี้จนเกิดทักษะและความเคยชิน
แบบฝึกที่ 4 การตัดลม
ฝึกแบ่งลมเป่าออกเป็น 4
จังหวะย่อย ทุกห้องเพลงอย่างต่อเนื่อง
การใช้ลม
|
ดู ดู ดู
ดู
|
ดู ดู ดู
ดู
|
ดู ดู ดู
ดู
|
ดู ดู ดู
ดู
|
ดู ดู ดู
ดู
|
ดู ดู ดู
ดู
|
ดู ดู ดู
ดู
|
ดู ดู ดู
ดู
|
วิธีปฏิบัติ ขณะปิดเสียงลา
คู่ 8 (ลฺ ล) ให้เปล่งลมเป่าคำว่า “ดู”
ออกมาอย่างแรงและเร็ว ติดต่อกัน 4 ครั้ง โดยใช้ปลายลิ้นช่วยเปิดหรือปิดเพดานเพื่อแบ่งลมเป่าเป็น
4 ช่วงหรือ 4 จังหวะย่อย ใน 1 ห้องเพลง
เป่าคำว่า “ดู” ครั้งที่ 4 จะตรงกับจังหวะตกของแต่ละห้องเพลง
ให้ฝึกวิธีการใช้ลมเป่าเช่นนี้จนเกิดทักษะและความเคยชิน
แบบฝึกที่ 5 การตัดลม
ฝึกเป่าโดยแบ่งลมเป่าเป็นหลายรูปแบบผสมผสานกันตามจังหวะทำนอง
วิธีปฏิบัติ ขณะปิดเสียงลา คู่ 8 (ลฺ ล) ให้ใช้ลมเป่าแบบเดิมคือเป่าคำว่า
“ดู” ตามจำนวนจังหวะย่อยของแต่ละห้องเพลง ให้ฝึกหลายๆ
รอบเพื่อให้เกิดทักษะและความเคยชิน
การเป่าตัดลมแบบที่ 2
เป็นการเป่าตัดลมที่ทำให้เสียงแคนดังเบาลงหรือผ่อนลงอย่างกระทันหันแล้วดังขึ้นมาอีกสลับกันไปเช่นนี้อย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว เวลาเป่าลมเข้าให้ออมริมฝีปากห่อเข้าหากันเหมือนที่เคยปฏิบัติมาแล้ว
แต่ให้เปลี่ยนวิธีเปล่งออกมาจากปาก ให้มีลักษณะคล้ายกับจะพูดคำว่า “ดุด” หรือ “ดัด” ด้วยการเปล่งลมออกมาให้แรงพร้อมกับรีบใช้ปลายลิ้นปิดกั้นลมไว้โดยให้ลมผ่านออกมาได้เพียงเล็กน้อยไม่ให้เสียงแคนขาดช่วงหรือหยุด
ซึ่งการปฏิบัติเช่นนี้จะทำให้เสียงแคนที่ดังขึ้นแล้วผ่อนเบาลงอย่างกระทันหัน ให้ฝึกปฏิบัติต่อเนื่องกันเป็นช่วงสั้นๆ จนเกิดความเคยชิน เพื่อ ให้เกิดทักษะที่ดี
ควรฝึกปฏิบัติตามแบบฝึกโดยเสียงลาคุ 8 (ลฺ ล) เช่นเดียวกับการเป่าตัดลมแบบที่ 1
ที่เรียนมาแล้ว ดังนี้
แบบฝึก1 การตัดลม
วิธีปฏิบัติ ให้ปิดรูนับเสียงลา คุ 8 (ลฺ
ล)เหมือนที่เคยปฏิบัติมาแล้ว แต่เปลี่ยนลักษณะลมที่เปล่งออกมาให้คล้ายจะพูดคำว่า “ดุด” หรือ
“ดัด” จะทำให้เสียงแคนที่ดังออกมามีความหนักเบาของทำนอง
แบบฝึก 2 การตัดลม
วิธีปฏิบัติ ให้ปิดรูนับเสียงลา คุ 8 (ลฺ
ล)เหมือนที่เคยปฏิบัติมาแล้ว แต่เปลี่ยนลักษณะลมที่เปล่งออกมาให้คล้ายจะพูดคำว่า “ดุด” หรือ
“ดัด” จะทำให้เสียงแคนที่ดังออกมามีความหนักเบาของทำนอง
จากตัวอย่างนี้ผู้ฝึกเป่าต้องนำไปประยุกต์ใช้ในการสร้างสรรค์ทำนองหลายรูปแบบทั้งลมสั้นและลมยาวตามความคิดสร้างสรรค์ของตนเอง
สำหรับระดับเสียงอื่นๆ
ที่เหลือคือ เสียงโด เร มี
ฟา ซอล และเสียงที
ให้ฝึกการใช้ลมด้วยวิธีการและขั้นตอนเดียวกันนี้ โดยฝึกเป่าที่ละคู่เสียงจนครบทุกคู่เสียง เมื่อฝึกการใช้ลมเป่าได้ดีแล้ว ในลำดับต่อไปก็จะเป็นการฝึกเป่าตามโน้ตทำนองพร้อมกับควบคุมการใช้ลมเป่าให้ถูกวิธี
เพื่อให้เสียงแคนมีความไพเราะจับใจ และนำไปสู่การเป่าแคนที่ไพเราะสนุกสนานต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น